หนึ่งเรื่องที่ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการหรือบุคคลธรรมดา ภาษี เป็นเรื่องที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่หนึ่งเรื่องที่ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการหรือบุคคลธรรมดา ภาษี เป็นเรื่องที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ วันนี้ IdolPlanner จึงได้รวบรวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษีมาให้ทุกท่านได้ศึกษา ทั้งภาษีคืออะไร มีกี่ประเภทและการลดหย่อนภาษีทำได้อย่างไร
ภาษี (Tax) หมายถึง เงินที่รัฐ หรือท้องถิ่นบังคับเก็บจากราษฎร ซึ่งทำหน้าที่เป็นแหล่งรายได้หลักของรัฐบาล เพื่อนำไปใช้จ่ายในการบริหารประเทศหรือท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม เช่น ดูแลสวัสดิการของประชาชน บริการสาธารณะ เป็นต้น นอกจากนี้ภาษียังถูกแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเสียภาษีของประชาชนแต่ละประเภท โดยเป็น 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษีดังนี้
1.การลดหย่อนภาษี
การลดหย่อนภาษี หมายถึง การลดจำนวนเงินที่ต้องจ่ายภาษีเงินได้ของบุคคลหรือนิติบุคคลลงต่ำกว่าเดิม โดยใช้รายการที่กฎหมายกำหนดไว้ เพื่อส่งเสริมการลงทุนหรือการกระตุ้นเศรษฐกิจในทางที่สามารถพัฒนาประเทศได้มากขึ้น การลดหย่อนภาษีสามารถทำได้โดยการใช้รายการค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลกำหนดไว้ เช่น
- การลดหย่อนภาษีเงินได้ส่วนบุคคล เช่น ค่าดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย ค่าประกันชีวิต ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวทเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เงินสมทบประกันสังคม เงินบริจาค เป็นต้น
- การลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล สามารถใช้รายจ่ายที่กฎหมายกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายได้เป็น 2 เท่า ทำให้เสียภาษีน้อยลง เช่น ค่าซื้อหรือจ้างทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การส่งลูกจ้างเข้าอบรมสัมมนา ค่าหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เงินบริจาคที่เข้าเงื่อนไข เป็นต้น
การลดหย่อนภาษีเป็นเครื่องมือสำคัญที่รัฐบาลใช้เพื่อส่งเสริมการลงทุนและการใช้จ่ายในภาคเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญคือ
1.เพื่อการส่งเสริมการลงทุน การให้บุคคลหรือนิติบุคคลได้ลดหย่อนภาษีเมื่อลงทุนในกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น การให้ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมเพื่อการอบรม (SSP) เป็นต้น
2.เพื่อการส่งเสริมการใช้จ่าย เพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายที่ส่งเสริมเศรษฐกิจ อาจเป็นการลดหย่อนภาษีเมื่อซื้อสินค้าหรือบริการที่มีผลกระทบต่อการบริโภคภายในประเทศ เช่น มาตรการช้อปดีมีคืน การท่องเที่ยวเมืองรอง เป็นต้น
3.เพื่อการส่งเสริมการพัฒนา การให้การสนับสนุนทางภาษีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาภาคสาธารณสุข การศึกษา หรือโครงการสาธารณะอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจ
การลดหย่อนภาษีมีผลกระทบต่อการเลือกที่จะลงทุนและใช้จ่ายของบุคคลและนิติบุคคล โดยทำให้มีการเติบโตของเศรษฐกิจได้เป็นอย่างมากในบางกรณี อย่างไรก็ตาม การใช้หลักประกันภาษีเพื่อลดหย่อนนั้นมีการกำหนดเงื่อนไขและข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติตาม เพื่อป้องกันการใช้เครื่องมือนี้ในทางที่ไม่เป็นธรรม
2.ประเภทของภาษี
ภาษีเป็นรายได้ที่รัฐบาลเรียกเก็บจากบุคคลหรือนิติบุคคลเพื่อใช้ในการดำเนินการของรัฐ เช่น การสนับสนุนสิ่งที่ส่งเสริมและบริหารการเงินของประเทศ ภาษีสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะและวัตถุประสงค์ของการเก็บเงิน โดยทั่วไปแล้วมีประเภทหลัก ๆ ดังนี้
1.ภาษีทางตรง เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลหรือนิติบุคคลโดยตรง เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมรดก ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น
2.ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลโดยทางอ้อม โดยผ่านการบริโภคสินค้าหรือบริการ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต อากรแสตมป์ เป็นต้น
หลักจากทราบประเภทของการเสียภาษีเพื่อสามารถเสียภาษีได้อย่างถูกต้องแล้ว ยังมีความสงสัยกันอยู่ไหมว่าเราจะเสียภาษีกันทำไม รัฐบาลนำเงินภาษีที่ประชาชนเสียไปทำอะไรบ้าง เพราะการเสียภาษีเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จำนวนเงินภาษีที่ประชาชนเสียไปนั้นจะให้ประโยชน์กลับมาแก่เรามากน้อยแค่ไหน
1.ภาษีเป็นแหล่งรายได้หลักของรัฐบาล โดยใช้เพื่อนำไปพัฒนาประเทศ ดูแลสวัสดิการ บริการสาธารณะ ความมั่นคงและอื่น ๆ ในประเทศ
2.ภาษีเป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากร โดยรัฐบาลสามารถใช้ภาษีเพื่อกระจายรายได้ ส่งเสริมเศรษฐกิจ ควบคุมราคาสินค้าและอื่น ๆ ที่อยู่ภายในประเทศ
3.ภาษีเป็นเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรม โดยรัฐบาลสามารถใช้ภาษีเพื่อควบคุมพฤติกรรมของประชาชน เช่น การเก็บภาษีสรรพสามิตจากสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เป็นต้น
เมื่อทราบถึงความหมาย ประเภทและความสำคัญของภาษีแล้ว เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นสำหรับการนำเงินภาษีไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงได้ยกตัวอย่างการนำเงินภาษีไปใช้ได้ดังนี้
ตัวอย่างการนำเงินภาษีไปใช้
1.ด้านการพัฒนาประเทศ โดยรัฐบาลใช้ภาษีเพื่อสร้างถนน สะพาน โรงเรียน โรงพยาบาลและโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ภายในประเทศ
2.ด้านการดูแลสวัสดิการ โดยรัฐบาลใช้ภาษีเพื่อดูแลสวัสดิการของประชาชน เช่น เบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุ เงินช่วยเหลือผู้พิการ เบี้ยเลี้ยงนักเรียน สวัสดิการรักษาพยาบาล เป็นต้น
3.ด้านการบริการสาธารณะ โดยรัฐบาลใช้ภาษีเพื่อให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน เช่น การรักษาพยาบาล การศึกษา การคมนาคม ความปลอดภัย เป็นต้น
4.ด้านความมั่นคง โดยรัฐบาลใช้ภาษีเพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ เช่น การซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ การฝึกอบรมทหาร เป็นต้น
ประชาชนทุกคนมีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมาย การเสียภาษีเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ช่วยให้ประเทศชาติมีรายได้เพื่อนำไปพัฒนาประเทศ ดูแลสวัสดิการ บริการสาธารณะ ความมั่นคงและบริการที่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนหรือประเทศมากขึ้น โดยการจะทำให้ประชาชนเข้าใจในการเสียภาษีได้มากขึ้นทางรัฐบาลควรสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับความสำคัญของภาษี สิทธิ์หน้าที่ของผู้เสียภาษีและวิธีการเสียภาษีที่ถูกต้อง
นอกจากนี้การพัฒนาระบบการจัดเก็บภาษีก็มีความสำคัญ โดยรัฐบาลควรพัฒนาระบบการจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็ว โปร่งใสและตรวจสอบได้ รวมถึงมีการปราบปรามการเลี่ยงภาษีอย่างจริงจัง เพื่อให้ความเป็นธรรมกับผู้เสียภาษี
3.เครื่องมือในการช่วยให้ภาษีง่ายขึ้น
การใช้เครื่องมือในการช่วยให้การเสียภาษีเป็นเรื่องง่ายขึ้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากเพราะมีผลต่อความถูกต้องและสร้างความประหยัดในการเสียภาษีของบุคคลหรือนิติบุคคลได้อย่างมาก
1.เว็บไซต์กรมสรรพากร เป็นอีกแหล่งข้อมูลครบถ้วนเกี่ยวกับกฎหมายภาษี แบบฟอร์ม วิธีการเสียภาษี ข่าวสารและบริการต่าง ๆ รองรับการใช้งานภาษาไทยและอังกฤษ มีระบบค้นหาข้อมูล ถาม-ตอบและติดต่อเจ้าหน้าที่
2.โปรแกรมคำนวณภาษี มีทั้งแบบออนไลน์และแบบโปรแกรมติดตั้ง โดยในส่วนนี้จะช่วยให้คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีอื่น ๆ บางโปรแกรมสามารถนำเข้าข้อมูลจากใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้
3.แอปพลิเคชันมือถือ เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ใช้งานสะดวก มีฟังก์ชั่นคล้ายคลึงกับโปรแกรมคำนวณภาษี เช่น คำนวณภาษี ตรวจสอบสถานะการเสียภาษี ยื่นแบบแสดงรายการภาษี แอปพลิเคชันยอดนิยม เช่น RD Mobile Application, e-Filing Mobile Application
4.บริการจากธนาคาร ปัจจุบันธนาคารหลายแห่งมีบริการช่วยคำนวณภาษี ยื่นแบบแสดงรายการภาษี และวางแผนภาษี โดยลูกค้าสามารถติดต่อธนาคารเพื่อขอรับบริการหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้
5.บริษัทรับทำบัญชี ในส่วนนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่มีธุรกิจหรือรายได้ที่ซับซ้อน โดยบริษัทรับทำบัญชีจะช่วยจัดการเรื่องภาษีทั้งหมด ตั้งแต่การคำนวณ ยื่นแบบแสดงรายการภาษี จนถึงการตอบคำถามจากเจ้าหน้าที่สรรพากร
6.เว็บไซต์และสื่อออนไลน์ มีเว็บไซต์และสื่อออนไลน์จำนวนมากที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาษี เช่น บทความ วิดีโอ อินโฟกราฟิก ช่วยให้เข้าใจเรื่องภาษีได้ง่ายขึ้น ทันสมัยและตรงประเด็นมากขึ้น
7.สัมมนาและอบรม การเข้าร่วมอบรมกับทางกรมสรรพากรหรือหน่วยงานอื่น ๆ เป็นโอกาสดีที่จะได้เรียนรู้เรื่องภาษีจากผู้เชี่ยวชาญ สามารถถามคำถามและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้แบบทันทีทันใด
เราจะพบว่ามีหลากหลายเครื่องในการเข้าถึงเรื่องภาษีเพื่อให้ได้เรียนรู้มากขึ้น โดยเครื่องมือแต่ละอย่างตอบโจทย์ผู้ที่สนใจแต่ละประเภท เช่น ทางออนไลน์สำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาในการเดินทาง การเข้าร่วมจัดอบรมในสถานที่ตั้งสำหรับบุคคลที่ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และชอบเช้าสังคม
4.การยื่นแบบและชำระภาษี
การยื่นภาษีถือเป็นหน้าที่ทางกฎหมายที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือผู้ประกอบการ ระยะเวลาการยื่นภาษีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรทราบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียค่าปรับหรือดอกเบี้ยจากการยื่นภาษีล่าช้า
1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax) เป็นภาษีที่จัดเก็บจากรายได้ของบุคคลธรรมดาที่เกิดขึ้นในปีภาษีที่ผ่านมา โดยมีระยะเวลาการยื่นภาษีตามกำหนดการดังนี้
- การยื่นภาษีแบบปกติ (ภ.ง.ด. 90/91) ต้องยื่นภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี
- การยื่นภาษีแบบออนไลน์ สามารถยื่นได้ถึงวันที่ 8 เมษายนของทุกปี
2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax) เป็นภาษีที่จัดเก็บจากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยมีระยะเวลาการยื่นภาษีดังนี้
- ภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด. 51) ต้องยื่นภายใน 2 เดือนหลังจากสิ้นสุดครึ่งแรกของบัญชี
- ภาษีสิ้นปี (ภ.ง.ด. 50) ต้องยื่นภายใน 150 วันหลังจากสิ้นสุดปีบัญชี
3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax – VAT) เป็นภาษีที่ผู้ประกอบการจะต้องยื่นในทุกเดือน โดยมีระยะเวลาการยื่นภาษีแบบ ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปหลังจากเดือนที่มีการขายสินค้าหรือบริการ
4.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) คือภาษีที่ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีจากผู้รับเงินและนำส่งให้กรมสรรพากร โดยมีระยะเวลาการยื่นภาษีแบบ ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3 และ ภ.ง.ด. 53 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปหลังจากที่มีการจ่ายเงิน
5.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษีที่จัดเก็บจากการเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยมีระยะเวลาการยื่นชำระภาษีภายในวันที่ 30 เมษายนของทุกปี
5.ค่าปรับภาษี
ในระบบภาษีของประเทศไทย การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภาษี ไม่ว่าจะเป็นการยื่นภาษีล่าช้า การไม่ยื่นภาษี หรือการยื่นภาษีไม่ถูกต้อง สามารถนำไปสู่การถูกเรียกเก็บค่าปรับภาษี ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่คุณไม่ควรมองข้าม ซึ่งค่าปรับภาษีเกิดขึ้นจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภาษีในหลายกรณี โดยสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
1.ค่าปรับจากการยื่นภาษีล่าช้า หากผู้เสียภาษียื่นแบบภาษีล่าช้ากว่าที่กฎหมายกำหนด จะต้องเสียค่าปรับเพิ่มเติม ซึ่งอาจเป็นค่าปรับจำนวนคงที่หรืออัตราดอกเบี้ยที่คำนวณจากจำนวนภาษีที่ค้างชำระ ตัวอย่างเช่น การยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ล่าช้า จะถูกปรับเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องชำระ สูงสุดไม่เกิน 20% ของยอดภาษีค้างชำระ
2.ค่าปรับจากการไม่ยื่นภาษี ในกรณีที่ผู้เสียภาษีไม่ยื่นภาษีตามที่กฎหมายกำหนด กรมสรรพากรสามารถเรียกเก็บภาษีที่ค้างชำระได้พร้อมค่าปรับและดอกเบี้ย ซึ่งในบางกรณีอาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายด้วย
3.ค่าปรับจากการยื่นภาษีไม่ถูกต้อง หากมีการยื่นแบบภาษีไม่ถูกต้อง เช่น การปกปิดรายได้หรือการกรอกข้อมูลที่ผิดพลาดโดยเจตนา ผู้เสียภาษีอาจถูกเรียกเก็บค่าปรับเพิ่มเติมจากภาษีที่ค้างชำระ และอาจต้องเสียค่าปรับในอัตราที่สูงขึ้น หากการกระทำดังกล่าวถือเป็นการฉ้อโกงภาษี
การรู้และเข้าใจเรื่องภาษีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือผู้ประกอบการ เพราะนอกจากจะช่วยให้คุณปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้องแล้ว ยังช่วยให้คุณวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคง การมีความรู้เรื่องภาษีไม่เพียงแค่ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต แต่ยังเปิดโอกาสให้คุณใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อคุณทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
สำหรับท่านที่ต้องการสอบถามหรือรับคำปรึกษาเบื้องต้น
สามารถกรอกรายละเอียดได้ที่ฟอร์มแนบ
https://forms.gle/YMvaxRmnpqiNUGdVA
หรือติดต่อตามช่องทางที่ปรากฎไว้ดังนี้
Line : @idolplanner
Tel : 02-010-8823