กรณีศึกษา “แชโบล” นายทุนยักษ์ใหญ่ ผู้กุมบังเหียนเศรษฐกิจเกาหลีใต้

เมื่อกล่าวถึงธุรกิจกงสี หลายคนอาจเกิดข้อสงสัยว่าหน่วยธุรกิจขนาดไหนถึงจะนับว่าเป็นธุรกิจกงสีได้ แท้จริงแล้ว “ธุรกิจกงสี” หมายถึงกิจการที่ใช้ระบบสมาชิกในครอบครัวทำงานร่วมกัน เพราะฉะนั้นในรูปแบบธุรกิจเช่นนี้จึงมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ปะปนกันไป เช่น กิจการร้านขายส่งของที่บ้าน หรือธุรกิจห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่ที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ก็นับว่าเป็นธุรกิจกงสีได้เช่นกัน

แต่ถ้าหากพูดถึงธุรกิจครอบครัวที่มีขนาดใหญ่ จนอาจเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในธุรกิจกงสีที่ใหญ่ที่สุดในโลก เชื่อว่าไม่มากก็น้อยหลายคนต้องเคยได้ยินคำว่า “แชโบล” มาบ้าง ไม่ว่าจะในซีรีส์เกาหลีหรือภายในข่าวเศรษฐกิจก็ตาม เพราะกลุ่ม “แชโบล” นี้ คือกลุ่มนายทุนยักษ์ใหญ่ที่ครอบครองสัดส่วน GDP ของประเทศเกาหลีใต้ไปเกือบ 90%

และที่สำคัญคือในบรรดากลุ่มมหาเศรษฐี “แชโบล” พวกเขามีความเกี่ยวข้องทางสายเลือดในฐานะเป็นเครือญาติกันอีกด้วย

ต้นกำเนิดของแชโบล

หลังผ่านสงครามโลกครั้งที่1 สงครามโลกครั้งที่2 ก่อนจะเป็นการปิดฉากสงครามตัวแทนระหว่างเกาหลีเหนือ- เกาหลีใต้ รัฐบาลเกาหลีใต้ ณ ขณะนั้น โดยการนำของ Rhee Syng-man มุ่งเน้นไปที่การพัฒนากองทัพเป็นหลัก อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับกองทัพจึงเติบโต และจุดเริ่มต้นของแชโบลได้เกิดขึ้น ณ เวลานั้น

แชโบล เครือข่ายบริษัทยักษ์ใหญ่ในเกาหลี

จนกระทั่งเกาหลีใต้ถูกปกครองโดยรัฐบาลเผด็จการของ Park Chung-hee ได้ตั้งเป้าหมายขับเคลื่อนให้เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมหนัก นำไปสู่การร่วมมือของภาครัฐและเอกชน รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการหลายกลุ่ม มุ่งเน้นไปที่รถยนต์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แชโบลเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจหลักที่ถูกรัฐคัดสรร โดยตัวแปรสำคัญที่ทำให้กลุ่มนายทุนยักษ์ใหญ่ผงาดขึ้นได้จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากในขณะนั้น รัฐบาลได้ออกนโยบายกีดกันทางการค้าเพื่อหนุนธุรกิจของกลุ่มที่ช่วยเหลือรัฐบาล

ในเวลาไม่นาน ด้วยแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจนี้ทำให้เศรษฐกิจของเกาหลีใต้เติบโตรวดเร็วจนก้าวขึ้นมาเป็น 4 เสือเศรษฐกิจของเอเชีย แต่ต้องแลกมากับกลุ่มนายทุนผูกขาดที่กุมบังเหียนเศรษฐกิจเกาหลีใต้ไว้ทั้งประเทศ

ความยิ่งใหญ่ของแชโบล

ปัจจุบันแชโบลมีกลุ่มบริษัทในสังกัดราว ๆ 40 กลุ่ม แต่ถ้าพูดถึงธุรกิจยักษ์ใหญ่ที่เป็นที่คุ้นหูคนไทยและทั่วโลก ก็จะประกอบไปด้วย Samsung, SK, Hyundai, Lotte แต่ละบริษัทล้วนประสบความสำเร็จอย่างกว้างขวาง เพียง Samsung บริษัทเดียวก็ครองสัดส่วน GDP ของเกาหลีใต้ไปแล้วเกือบ 20%

Samsung

อุตสาหกรรมเล็กทรอนิกส์ เครื่องกล อุตสาหกรรมหนักและบริการทางการเงิน

SK

เซมิคอนดักเตอร์ พลังงานและเคมี โทรคมนาคม โดยเอสเคเทเลคอมเป็นหนึ่งในสามผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้

Hyundai Motor

อุตสาหกรรมผลิตและค้าส่งส่วนประกอบรถยนต์แบรนด์ยอดนิยม ได้แก่ Hyundai Kia Genesis

Lotte

ธุรกิจห้างสรรพสินค้า โรงแรม สวนสนุก ร้านค้าปลอดภาษี ร้านอาหารและธุรกิจอาหาร

การส่งต่อความยิ่งใหญ่ผ่านทางสายเลือด

อย่างไรก็ตามไม่ใช่กลุ่มนายทุนใหญ่ของเกาหลีเท่านั้นที่จะถูดจัดอยู่ใน “แชโบล” เพราะคนที่จะเรียกตนเองว่าแชโบลได้ จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดและมีความเป็นเครือญาติกันอยู่ในตัว เช่นผู้บริหาร Samsung เป็นลูกหลานของอีบยองชอลผู้ให้กำเนิดอาณาจักร Samsung ซึ่งมีลูกหลานอีกทางคือฝั่ง CJ Group ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทนายทุนยักษ์ใหญ่ของเกาหลีเช่นเดียวกัน

เนื่องจากมิกี้ อี รองประทาน CJ Group มีศักดิ์เป็นหลานปู่ของ อีบยองชอล โดยที่บริษัทนี้ได้แยกตัวออกมาจากซัมซุงเมื่อปี 1996 และมีบทบาทอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม ขนส่ง สุขภาพความงาม และที่สำคัญคือธุรกิจสื่อบันเทิงและโรงภาพยนตร์

เห็นได้ชัดจากการที่ CJ Group เป็นนายทุนให้กับภาพยนตร์ชื่อดังระดับโลกหลายเรื่อง ทั้ง Memories of Murder, Mother, Snowpiercer โดยเฉพาะ “Parasite” ภาพยนตร์จากฝั่งเอเชียที่เอาชนะใจกรรมการ กวาดรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมมาครอบครอง โดยงานมอบรางวัลวันนั้นเอง มิกี้ อี หนึ่งในสมาชิกแชโบลได้เผยโฉมต่อสาธารณะชนด้วยการกล่าวสปีชสั้น ๆ บนเวทีออสการ์

จะเห็นได้ว่าใน 1 กลุ่มธุรกิจใหญ่ จะมีธุรกิจปลีกย่อยลึกลงไปอีกมากมาย เช่นกลุ่ม Lotte ที่เราคุ้นชื่อกันนั้นมีมากถึง 90 ธุรกิจย่อยเลยทีเดียว ยิ่งเวลาผ่านไป เหล่าทายาทแชโบลค่อย ๆ เติบโตขึ้น ย่อมมีการขยายสายธุรกิจไปหลากหลายแขนงมากขึ้น  เพราะสมาชิกยิ่งเยอะ ไอเดียในการขยายธุรกิจยิ่งมากตามไปด้วย

ทุกวันนี้หลาย ๆ ธุรกิจในกลุ่มแชโบลอยู่ในช่วงผลัดใบ เริ่มเร่งเปลี่ยนทายาทขึ้นมาดูและธุรกิจต่อจากบิดา ในปัจจุบันทายาทรุ่นใหม่ของแชโบลมากกว่า 54.4% ได้ครองตำแหน่งซีอีโอ บ้างก็รับช่วงต่อจากการที่ผู้นำทางธุรกิจเสียชีวิต เช่น กลุ่มบริษัทซัมซุงที่เพิ่งมีข่าวการเสียภาษีมรดกก้อนใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ไม่มีแหล่งข้อมูลที่แน่ชัดว่าธุรกิจในเครือแชโบลมีขั้นตอนการคัดเลือกผู้นำทางธุรกิจอย่างไร แต่ในบรรดาผู้บริหารรุ่นใหม่ที่เป็นผู้หญิงคิดเป็นสัดส่วนได้เพียง 15.9% เท่านั้น จึงมีความเป็นไปได้ว่าอาจมีการคัดเลือกจากลูกชายคนโตเป็นหลัก ในการเป็นผู้นำทางธุรกิจรุ่นถัดไป

เช่นเดียวกันกับแนวทางการส่งต่อธุรกิจ ที่ไม่มีใครทราบแน่ชัดถึงกติกาและหลักเกณฑ์ของกลุ่มธุรกิจแชโบล แต่ถ้าหากสังเกตจาก ‘ภาษีก้อนใหญ่ที่สุดในโลก’ ที่ทายาทต้องเสียให้รัฐบาล หลังจากผู้นำธุรกิจรุ่นก่อนเสียชีวิต

จะเป็นไปได้ไหมว่าบางครั้งธุรกิจยักษ์ใหญ่ระดับโลกหลาย ๆ แห่ง อาจไม่ได้วางแผนการส่งต่อธุรกิจเอาไว้เลย?

บทเรียนของความเสี่ยงที่ธุรกิจกงสีต้องเผชิญ

ไม่ใช่แค่กลุ่มแชโบลหรือธุรกิจกงสีขนาดใหญ่ระดับประเทศเท่านั้นที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการที่นำระบบ ‘กงสี’ มาใช้บริหารธุรกิจ เพราะไม่ว่าธุรกิจไหน ๆ ที่บริหารโดยสมาชิกในครอบครัวย่อมต้องเผชิญความเสี่ยงด้วยกันทั้งนั้น

เพราะอัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัวมักเหลือน้อยลงทุกรุ่น หลังมีการส่งต่อตำแหน่งผู้นำทางธุรกิจให้กับทางลูกหลาน

พี่น้อง ลูกหลาน ตัวปัญหาของระบบกงสี

โดยส่วนใหญ่แล้วในช่วงเริ่มสร้างกิจการ พี่น้องจะมีความรักใคร่กลมเกลียวกันดี เพราะฝ่าฟันปัญหาและอุปสรรคมาด้วยกัน ต่อมาเมื่อกิจการก้าวหน้า มั่งคั่งร่ำรวย กิจการขยายใหญ่ขึ้น สมาชิกเพิ่มขึ้น นอกจากพี่น้อง ลูกหลาน ก็มีเขย-สะใภ้เพิ่มเข้ามา ความเป็นปึกแผ่นเริ่มลดหาย กลายเป็นสมาชิกที่จับตัวกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน พ่อ แม่ ลูก บางทีลูกไม่สนิทกับลุงกับอา ไม่เห็นว่าเป็นสมาชิกในครอบครัว

แชโบล กรณีศึกษาที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจครอบครัว

บางคนครอบครัวใหญ่ บางคนครอบครัวเล็ก เบิกสวัสดิการได้ไม่เท่ากัน เมื่อสมาชิกสังเกตเห็นความเหลื่อมล้ำ จึงเริ่มเรียกร้องให้เกิดความเท่าเทียม

จะเห็นได้ว่าปัญหาต่าง ๆ ในธุรกิจกงสีค่อนข้างยิบย่อย ที่หลาย ๆ ครั้งเรามองว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่เรื่องเล็กเหล่านี้เมื่อปล่อยไว้นานก็จะคาราคาซังไม่ได้รับการแก้ไขจนบานปลายเป็นเรื่องใหญ่ในที่สุด

ยังไม่นับปัญหาใหญ่ ๆ อย่างการส่งต่อธุรกิจ โดยเฉพาะการที่ผู้นำรุ่นก่อนจากไปโดยไม่มีการวางแผนหรือเขียนพินัยกรรมเอาไว้ นอกจากจะต้องเผชิญความเสี่ยงในการคัดเลือกผู้นำรุ่นต่อไปและการแบ่งทรัพย์สมบัติแล้ว อีกประเด็นสำคัญที่เราได้เรียนรู้ คือการจัดการภาษีมรดก ไม่ว่าจะก้อนเล็กหรือก้อนใหญ่ก็ขึ้นอยู่ขนาดของธุรกิจนั้น ๆ ถ้าหากคิดตามกฎหมายไทย ต่อให้เป็นขั้นต่ำก็เกินหลักล้านแน่นอน

ธุรกิจส่วนใหญ่แก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร

ธรรมนูญครอบครัว แนวทางการแก้ปัญหาด้านการส่งต่อธุรกิจ วางแผนด้านภาษี แบ่งผลประโยชน์ กำหนดสิทธิหน้าที่ ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในแวดวงธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ โดยในที่นี้รวมถึงประเทศฝั่งตะวันตกก็ใช้แนวทางนี้ในการป้องกันความเสี่ยงให้กับธุรกิจเช่นเดียวกัน

ธรรมนูญครอบครัว ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการช่วยบริหารธุรกิจครอบครัว

ในด้านของการสร้างความชัดเจนให้กับสมาชิก ป้องกันปัญหาความขัดแย้งในอนาคต เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจครอบครัวให้ไปต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เป็นเคล็ดลับที่ธุรกิจครอบครัวระดับประเทศเลือกใช้ในการกำหนดกติกา ป้องกันความเสี่ยง จนสามารถส่งต่อธุรกิจให้แก่รุ่นถัดไปได้อย่างราบรื่นแบบรุ่นต่อรุ่น

Idol Planner ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจกงสี จัดทำธรรมนูญครอบครัวและวางแผนภาษีมรดก

ด้วยประสบการณ์ที่ทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับธุรกิจครอบครัวเป็นเวลากว่า 20 ปี ทีมงานเรามีทั้งผู้เชี่ยวชาญด้าน ธุรกิจครอบครัว ภาษี กฎหมาย รวมถึงการลงทุนรูปแบบต่างๆ เราจึงมีประสบการณ์ที่รอบด้านกว่าที่อื่นๆ คุณจะได้รับความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ที่บริษัททั่วไปให้กับคุณไม่ได้ การมีที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญจะสามารถช่วยขับเคลื่อนทั้งตัวธุรกิจ และ บุคลากรของคุณได้เป็นอย่างดี

เรามั่นใจว่าบริการของเราสามารถช่วยให้คุณ

เติมเต็มศักยภาพให้ธุรกิจครอบครัวของคุณ

ป้องกันปัญหาในธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

สร้างระบบการบริหารภายในของธุรกิจครอบครัวให้มีความเป็นมาตรฐาน

ประหยัดเวลา แก้ปัญหาความซับซ้อนด้านการบริหาร

ลดภาระภาษี ค่าใช้จ่ายด้านภาษีที่คุณอาจมองข้ามไป

หลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน ค่าปรับที่ไม่จำเป็นในการประกอบธุรกิจ

ติดต่อเราบริษัท Idol Planner Consulting ตอนนี้เลย

ผู้นำด้านการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัว

ธุรกิจครอบครัว-กงสี คืองานถนัดของเรา

บริษัท ไอดอลแพลนเนอร์ จำกัด พร้อมช่วยสร้างความชัดเจนและความเป็นมืออาชีพให้กับธุรกิจครอบครัว ด้วยโซลูชั่นที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจครอบครัวโดยเฉพาะ พันธกิจของเราคือการช่วยเหลือให้ธุรกิจของครอบครัวคุณเติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นปึกแผ่นให้กับครอบครัวของคุณ