ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นภาษีที่ภาครัฐเก็บจากผู้ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือเป็นภาษีที่เก็บจากความมั่งคั่งของประชาชน สำหรับผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี คือ เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ โดยเจ้าของฯสามารถผลักภาระ กรณีที่นำอสังหาริมทรัพย์หรือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปให้ผู้อื่นเช่า สามารถผลักภาระให้ผู้เช่าเป็นผู้จ่ายได้ ส่วนผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บ คือ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาลตำบล เทศบาลเมืองต่าง ๆ วิธีในการคำนวณภาษี นำเอามูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งหมายถึงตัวที่ดิน ใช้ราคาประเมินของกรมธนารักษ์ และถ้ามีสิ่งปลูกสร้างด้วยก็ใช้สิ่งปลูกสร้างนั้นหักด้วยค่าเสื่อมราคาก่อน ถ้าเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของเดียวกันก็เอาทรัพย์สินทั้ง 2 อย่างมารวมกัน แล้วก็ดูการใช้ประโยชน์แบบใด ภาครัฐจัดเก็บอัตราภาษี ถูก แพง ขึ้นอยู่กับการใช้ประโยชน์ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ โดยการใช้ประโยชน์แบ่งออกเป็น 4 แบบ ได้แก่ 1) ที่ดินที่ใช้สำหรับการเกษตร อัตราภาษีถูกที่สุด2) ที่ดินที่ใช้ประโยชน์สำหรับการพักอาศัยของประชาชน3) อื่น ๆ4) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ไม่ได้ใช้ประโยชน์ใด ๆ อัตราภาษีจะเป็นแบบอัตราก้าวหน้า แบ่งตามการใช้งาน โดยภายใน 2 ปีแรก (พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564)… Continue reading ภาษีที่ดิน คำนวณยังไง? 3 เทคนิคสำคัญในการวางแผนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง