ช่วงไม่กี่เดือนผ่านมานี้เรามักจะพบกับข่าวโรงงานระเบิดกันอยู่บ่อยครั้ง เหล่านักธุรกิจเคยคิดกันไหมว่าถ้าวันหนึ่งเกิดเป็นบริษัทของตัวเองขึ้นมาจะทำอย่างไร ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต IDOLPLANNER จึงรวม Study Case ของบริษัทต่าง ๆ เพื่อเป็นเหตุผลว่าทำไมควรทำ Holding Company
Study Case 1 : หมิงตี้เคมีคอล
เคสหลักที่เรามักนำขึ้นมาเสนอให้กับผู้ที่สนใจในการทำ Holding Company กรณีการเกิดเพลิงไหม้โรงงานผลิตเม็ดโฟมของบริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 โดยสาเหตุเกิดจากถังเก็บสารเคมีเกิดเพลิงไหม้และระเบิดในเวลาต่อมา ส่งผลให้มีไอระเหยของสารสไตรีนและก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จำนวนมาก สารดังกล่าวเกิดการกระจายเป็นวงกว้างกว่า 5 กิโลเมตร ทำให้ชาวบ้านในระแวกนั้นได้รับผลกระทบ โดยปัจจุบันโรงงานนี้ได้ขึ้นสถานะปิดชั่วคราว พร้อมกับออกจดหมายแถลงการณ์ถึงเหตุการณ์อุบัติเหตุทางอุตสาหกรรมถึงการชดเชยค่าเสียหายแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ
Study Case 2 : มาบตาพุด แทงค์ เทอร์มินัล
เคสล่าสุดกรณีของ มาบตาพุด แทงค์ เทอร์มินัล เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่งทางระบบท่อลำเลียง ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ ถังเก็บวัตถุดิบที่บรรจุแก๊สโซลีน ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 โดยเหตุการณ์ในครั้งนี้ เพลิงไหม้ได้ลุกลามไปถึง 2 ถังใหญ่และใช้เวลากว่า 6 ชม.ในการควบคุมสถานการณ์ ส่งผลให้ทางภาครัฐสั่งปิดบริเวณโดยรอบที่ได้รับผลกระทบและอพยพคนบริเวณใกล้เคียงออกนอกพื้นที่
Study Case 3 : Revlon
กรณีบริษัทต่างประเทศ Revlon แบรนด์เครื่องสำอางค์ของอเมริกาได้ยื่นล้มละลายต่อศาลล้มละลายของสหรัฐฯ ในปี 2022 เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิทักษ์ทรัพย์และปรับโครงสร้าง หลังปัญหาสะสมต่อเนื่องช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งการยื่นล้มละลายในครั้งนี้ประกอบด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น การปรับตัวไม่ทันต่อกระแสเครื่องสำอางค์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งในช่วงนั้นพบว่าเศรษฐกิจโลกยังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง ส่งผลให้ราคาหุ้นตกลง
จาก Study Case ทั้ง 3 แห่งที่ได้ยกมานั้น เมื่อได้ทำความเข้าใจแล้วจะพบว่าอุบัติเหตุทางอุตสาหกรรมไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายให้กับตัวของโรงงานเองเพียงเท่านั้น แต่เนื่องจากโรงงานส่วนใหญ่มักจะสร้างขึ้นในเขตของชุมชน ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นทำให้ผู้คนในระแวกรอบข้างได้รับผลกระทบไปด้วย
จากตัวอย่างดังกล่าวที่ได้ยกขึ้นมานั้น พบว่าแม้ทั้ง 3 เหตุการณ์จะต่างกันแต่ทั้งหมดถือเป็นการทำให้ธุรกิจเกิดความเสี่ยงหรือเกิดความเสียหายที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยไม่เพียงแต่สร้างความเดือนร้อนให้กับตัวธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นปัญหาสำหรับประชาชนและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในระแวกนั้นด้วย นอกจากจะต้องสูญเสียทรัพย์สินที่เกิดจากอุบัติเหตุแล้ว อาจจะยังต้องรับผิดชอบค่าเสียหายต่อผู้คนรอบข้างเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้นการจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) จึงเป็นอีกหนึ่งทางในการจำกัดความเสี่ยงสำหรับธุรกิจต่าง ๆ ไม่มากก็น้อยตามที่จะกล่าวในลำดับถัดไป
บริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company)
บริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) เป็นบริษัทที่มีวัตถุประสงค์ในการเข้าไปถือหุ้นของบริษัทในเครือหรือถือครองทรัพย์สิน โดยไม่ได้มีการผลิตสินค้า หรือให้บริการเอง แต่อาศัยการถือหุ้นเพื่อรับรายได้ในรูปแบบของเงินปันผล เมื่อบริษัทที่บริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) เข้าไปถือหุ้นมีกำไรและจ่ายปันผลอออกมา การมีโครงสร้างแบบโฮลดิ้งมีข้อดีหลายประการ เช่น การจำกัดความเสี่ยงทางธุรกิจ การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากร และการใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบทางภาษี
ความหมายและประเภทของ Holding Company
บริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทหลัก ดังนี้
1.Pure Holding Company: บริษัทประเภทนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพียงอย่างเดียว คือการถือหุ้นในบริษัทอื่น โดยไม่มีกิจกรรมอื่นเพิ่มเติม
2.Mixed Holding Company: นอกจากการถือหุ้นในบริษัทอื่นแล้ว บริษัทประเภทนี้ยังมีกิจกรรมธุรกิจอื่นร่วมด้วย เช่น การผลิต การให้บริการ หรือการขายสินค้า
วัตถุประสงค์และหน้าที่ของ Holding Company
1.การควบคุมการดำเนินงาน: บริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) ถือหุ้นในบริษัทลูก (subsidiaries) เพื่อควบคุมการตัดสินใจที่สำคัญ เช่น การกำหนดนโยบาย การวางแผนกลยุทธ์ การแต่งตั้งผู้บริหาร และการจัดการทางการเงิน
2.การกระจายความเสี่ยง: การลงทุนในหลายบริษัทที่มีลักษณะธุรกิจแตกต่างกันช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดจากการพึ่งพาธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งเพียงอย่างเดียว
3.การจัดสรรทรัพยากร: บริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) สามารถจัดสรรทรัพยากรให้กับบริษัทลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การให้กู้เงิน ทำให้การดำเนินงานของบริษัทลูกมีความราบรื่นและเกิดประสิทธิภาพด้านโครงสร้างการเงินมากขึ้น
4.การใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบทางภาษี: บริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) สามารถได้รับประโยชน์ทางภาษีในหลายรูปแบบ เช่น การยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากเงินปันผล การยกเว้นภาษีนิติบุคคลจากรายได้ที่เกิดจากเงินปันผล
โครงสร้างของ Holding Company
การจัดโครงสร้างของบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) อาจซับซ้อนขึ้นอยู่กับขนาดและลักษณะของธุรกิจ ซึ่งมักประกอบด้วย
- บริษัทแม่ (Parent Company) บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทอื่นและมีอำนาจควบคุม
- บริษัทลูก (Subsidiaries) บริษัทที่ถูกถือหุ้นโดยบริษัทแม่และอยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทแม่
- บริษัทในเครือ (Affiliates/Associates) บริษัทที่บริษัทแม่ถือหุ้นไม่ถึง 50% แต่ยังมีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการ
ข้อดีของ Holding Company
1.การควบคุมที่มีประสิทธิภาพ บริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) สามารถควบคุมและบริหารจัดการบริษัทลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเนื่องจากมีอำนาจในการแต่งตั้งผู้บริหารและการกำหนดนโยบาย
2.การกระจายความเสี่ยง ด้วยการลงทุนในหลายธุรกิจ บริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) สามารถกระจายความเสี่ยงที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ ทำให้ธุรกิจมีความมั่นคงมากขึ้น
3.การจำกัดความเสี่ยง เมื่อมีโครงสร้างบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) มาถือหุ้นบริษัท Operation ทำให้สามารถจ่ายเงินปันผลขึ้นไปที่บริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) โดยไม่เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย จึงสามารถลดกำไรสะสมของบริษัทลูกโดยไม่ต้องกังวลเรื่องภาษี เมื่อกำไรสะสมของบริษัทลดลง เท่ากับเป็นการจำกัดความเสี่ยงของบริษัทให้น้อยลง
4.การใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบทางภาษี การใช้โครงสร้างบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) สามารถช่วยลดภาระภาษีผ่านการวางแผนภาษีที่มีประสิทธิภาพ เช่น การใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ทางภาษีระหว่างประเทศ
ข้อเสียของ Holding Company
1.ความซับซ้อนของบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) ในการบริหารจัดการ โครงสร้างที่ซับซ้อนของบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) อาจทำให้การจัดตั้งใช้เวลาในการศึกษาและทำความเข้าใจ
2.ความเสี่ยงทางกฎหมายและข้อบังคับ การดำเนินงานของบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) อาจต้องเผชิญกับกฎหมายและข้อบังคับที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ทำให้ต้องมีการปรับตัวและการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด
3.การรวมศูนย์อำนาจ บริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) อาจสร้างปัญหาในการบริหารจัดการหากมีการรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป ทำให้การตัดสินใจช้าและขาดความยืดหยุ่น
4.ค่าใช้จ่ายทางบัญชี การจัดตั้งบริษโฮลดิ้ง (Holding Company) มีค่าใช้จ่ายในการจัดตั้ง รวมถึงมีการเพิ่มอีก 1 บริษัททำให้เกิดค่าทำบัญชีและค่าตรวจสอบบัญชีแต่ละปี
ตัวอย่าง Holding Company ที่มีชื่อเสียง
1.Berkshire Hathaway Inc. บริษัทโฮลดิ้งที่ก่อตั้งโดย Warren Buffett โดยเน้นไปลงทุนในบริษัทต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีการถือหุ้นในหลายบริษัท เช่น Coca-Cola, American Express, และ Apple บริษัทนี้มีความเชี่ยวชาญในการเลือกลงทุนในบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตในระยะยาว
2.Alphabet Inc. บริษัทแม่ของ Google ซึ่งเป็นตัวอย่างของ Mixed Holding Company เนื่องจาก Alphabet Inc. ไม่เพียงแต่ถือหุ้นในบริษัทอื่นๆ แต่ยังมีการพัฒนาธุรกิจของตนเองในหลายด้านเช่น Google Search, YouTube, และธุรกิจด้านเทคโนโลยีอื่น ๆ
3.Johnson & Johnson บริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) ที่มีบริษัทลูกหลายแห่งที่ดำเนินธุรกิจในหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมการแพทย์ อุตสาหกรรมยา และสินค้าอุปโภคบริโภค
การจัดตั้งและการบริหารจัดการ Holding Company
การจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) ต้องผ่านขั้นตอนหลายประการ เช่น การจดทะเบียนบริษัท การกำหนดโครงสร้างองค์กร การจัดการทางการเงิน และการบริหารจัดการความเสี่ยง นอกจากนี้ การบริหารจัดการบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการ เช่น การวางแผนกลยุทธ์ การควบคุมการดำเนินงาน การจัดการทรัพยากร และการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ
- การวางแผนกลยุทธ์: บริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) ต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์เหล่านี้อาจรวมถึงการเลือกลงทุนในบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโต การกำหนดเป้าหมายทางการเงิน การวางแผนการจัดการความเสี่ยง และการวางแผนการพัฒนาธุรกิจในระยะยาว
- การควบคุมการดำเนินงาน: บริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) ต้องมีระบบการควบคุมการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถตรวจสอบและควบคุมการดำเนินงานของบริษัทลูกได้อย่างใกล้ชิด ระบบการควบคุมที่ดีจะช่วยให้สามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้บริหารและพนักงาน รวมถึงการจัดการทางการเงินและการปฏิบัติตามกฎหมาย
- การจัดการทรัพยากร: การจัดการทรัพยากรในบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดสรรทรัพยากรทางการเงิน การจัดการบุคลากร การใช้เทคโนโลยี และการจัดการความรู้ การจัดการทรัพยากรที่ดีจะช่วยให้บริษัทลูกสามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
- การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ: บริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องในทุกประเทศที่มีการดำเนินธุรกิจ การปฏิบัติตามกฎหมายจะช่วยให้บริษัทสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายและรักษาชื่อเสียงของบริษัท
- การจัดการความเสี่ยง: การจัดการความเสี่ยงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) เนื่องจากการลงทุนในหลายธุรกิจอาจมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน การจัดการความเสี่ยงที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจและเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ
บริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) เป็นโครงสร้างองค์กรที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมและบริหารจัดการธุรกิจหลายประเภทภายใต้การควบคุมเดียวกัน การมีโครงสร้างแบบโฮลดิ้งช่วยให้สามารถกระจายความเสี่ยง เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากร และใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบทางภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งและบริหารจัดการบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) ยังต้องเผชิญกับความซับซ้อนและความท้าทายต่าง ๆ ที่ต้องการการวางแผนและการจัดการที่ดี การมีที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญและรู้จริงจะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากโครงสร้างองค์กรแบบโฮลดิ้งได้อย่างเต็มที่และประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจในระยะยาว
สำหรับท่านที่ต้องการสอบถามหรือรับคำปรึกษาเบื้องต้น
สามารถกรอกรายละเอียดได้ที่ฟอร์มแนบ
https://forms.gle/YMvaxRmnpqiNUGdVA
หรือติดต่อตามช่องทางที่ปรากฎไว้ดังนี้
Line : @idolplanner
Tel : 02-010-8823