สืบสันดาน101 : วางแผนเกษียณสำหรับเจ้าของธุรกิจ

วางแผนเกษียณสำหรับเจ้าของธุรกิจ

เดินทางมาสู่หัวข้อสุดท้ายของบทความชุด #สืบสันดาน101 ตั้งแต่ตอนแรกของซีรีย์จะเห็นว่าท่านเจ้าสัวได้ทำการวางแผนส่งต่อทรัพย์สิน โดยมาในรูปแบบของพินัยกรรม ซึ่งเป็นเอกสารที่ระบุทรัพย์สินและมรดกว่าจะจัดสรรให้ลูกคนไหนบ้าง แต่สิ่งที่เจ้าสัวขาดการวางแผนไป คือ การส่งต่อหรือเตรียมผู้สืบทอดธุรกิจของเจ้าสัว

สำหรับบทความสุดท้ายนี้ IdolPlanner ขอเสนอหัวข้อเกี่ยวกับการวางแผนการออกจากธุรกิจสำหรับเจ้าของธุรกิจ ไม่ว่าจะออกด้วยการเกษียณอายุ หรือเกิดมีเหตุที่ไม่คาดฝัน เมื่อมีเริ่มก็ต้องมีจาก แต่เราจะวางแผนอนาคตอย่างไรให้ลงจอดได้อย่างสมบูรณ์ และไม่ต้องเป็นกังวลหลังจากที่ตัดสินใจวางมือหรือเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่คาดคิด

การวางแผนเกษียณสำหรับเจ้าของธุรกิจ

เมื่อดำเนินกิจการมานานมีทั้งประสบความสำเร็จและล้มเหลว ผู้ประกอบการก็มักจะวางแผนอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการส่งต่อธุรกิจหรือการนำธุรกิจเข้าสู่ตลาดเพื่อเพิ่มชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของธุรกิจ หลายคนอาจมองว่าการวางมือจากธุรกิจที่ทำอยู่หมายถึงการปิดตัว แต่ในความเป็นจริงแล้ว การวางแผนเกษียณอาจหมายถึงการเพิ่มชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ หรือการทำให้ธุรกิจเติบโตก้าวหน้ายิ่งกว่าเดิมก็ได้ โดยการวางแผนเกษียณหรือแผนการออกจากธุรกิจสำหรับเจ้าของธุรกิจสามารถทำได้หลากหลายวิธี ดังนี้

1.การขายหุ้นให้แก่บุคคลทั่วไป (IPO)

วิธีนี้เป็นการที่บริษัทนำหลักทรัพย์เสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อระดมเงินทุนไปขยายกิจการ โดยที่หุ้นสามัญที่เปิดขายในตลาดครั้งแรกให้แก่นักลงทุน ซึ่งเป็นหุ้นที่บริษัทเอกชนเป็นผู้เปิดขาย เพื่อระดมทุนไปใช้ในเป้าหมายที่บริษัทได้ตั้งเป้าเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มกำลังการผลิต การขยายสาขา การขยายธุรกิจในต่างประเทศ โดยนักลงทุนที่ซื้อหุ้น IPO จะมีสถานะเป็นเจ้าของกิจการคนหนึ่งตามสัดส่วนที่ได้ซื้อหุ้นเอาไว้

2.การควบรวมกิจการหรือขายกิจการ (M&A)

Mergers and Acquisitions หมายถึง การที่บริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป

ทำการควบรวมกิจการเข้าด้วยกันแล้วเกิดเป็นบริษัทใหม่ และการที่บริษัทหนึ่ง เข้าไปซื้อกิจการบางส่วนหรือทั้งหมดของอีกบริษัทหนึ่ง โดยวิธีการควบรวมนี้ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการลงทุนพัฒนาสินค้าใหม่ เนื่องจากได้ควบรวมกิจการในประเภทที่ต้องการไว้แล้ว นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มจุดแข็งลดจุดอ่อนให้กับบริษัทที่ควบรวม โดยนำทรัพยากรของแต่ละบริษัทเข้าไปช่วยเหลือยังจุดต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความอยู่รอดให้กับบริษัทเล็ก ๆ ได้อีกด้วย

3.การบอกเลิกกิจการ

โดยวิธีการนี้เป็นการล้มเลิกกิจการที่อาจจะมีสาเหตุมาจากการขาดทุนติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง หรือความไม่สามารถหาคนมารับช่วงต่อธุรกิจได้ แม้วิธีนี้จะดูโหดร้าย แต่ในความเป็นจริงแล้ว การบอกเลิกธุรกิจอาจจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับผู้ประกอบการบางกลุ่มก็ได้

4.การวางแผนส่งต่อ

การวางแผนส่งต่อกิจการ ส่วนมากจะเกิดขึ้นกับธุรกิจที่เป็นระบบกงสีเสียส่วนใหญ่ เป็นธุรกิจครอบครัวที่สมาชิกในครอบครัวมีบทบาทอย่างมากในการทำงานให้กับธุรกิจนี้ ดังนั้นการวางแผนส่งต่อควรมีการวางแผนอย่างระมัดระวังแม้จะเป็นสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน แต่หากผู้สืบทอดไม่ได้มีใจรักหรือไม่มีความสามารถมากเพียงพอที่จะนำพาธุรกิจให้ดำเนินต่อไปได้ การส่งต่อกิจการให้กับผู้ที่มีความสามารถให้กับคนนอกครอบครัวดูท่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า

การวางแผนเกษียณสำหรับเจ้าของธุรกิจควรเริ่มตอนไหน ?

การวางแผนในเรื่องต่าง ๆ นั้นไม่เคยมีคำว่าเร็วเกินไป มีแต่จะสายเกินไป การวางแผนเกษียณสำหรับเจ้าของธุรกิจควรเริ่มต้นตั้งแต่วันที่เริ่มทำธุรกิจ เพราะการเริ่มต้นตั้งแต่เนิ่น ๆ ช่วยให้คุณสามารถวางแผนและสร้างระบบที่ทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเจ้าของธุรกิจในระยะยาว นอกจากนี้ การเริ่มต้นวางแผนเกษียณยังช่วยให้เรามีเวลามากพอในการพัฒนากลยุทธ์เพื่อค้นหาและเตรียมผู้สืบทอดที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นในช่วงที่ธุรกิจเริ่มอยู่ตัว หรือเมื่อถึงจุดที่เติบโตเต็มที่และพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง ผู้ประกอบการจึงควรเริ่มวางแผนเกษียณแต่เนิ่น ๆ เพื่อความมั่นคงและต่อเนื่องของธุรกิจในระยะยาว หากเจ้าของธุรกิจมีอายุที่ใกล้เกษียณในอนาคต แต่ยังไม่มีผู้สืบทอดธุรกิจ ควรมองหาที่ปรึกษาสำหรับวางแผนการออกจากธุรกิจได้แล้ว เนื่องจากหากได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจะทำให้การวางแผนออกจากธุรกิจประสบความสำเร็จและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยการวางแผนออกจากธุรกิจมีครอบคลุมดังนี้

  • กำหนดเป้าหมาย ระบุเป้าหมายของแผนการเกษียณว่าต้องการอะไร เช่น ขายกิจการ เกษียณอายุ หรือควบรวมกิจการ โดยเป้าหมายนี้สามารถดุได้จากสถานะของกิจการที่กำลังดำเนินการอยู่
  • ประเมินมูลค่าธุรกิจ ทราบมูลค่าของธุรกิจ เพื่อกำหนดราคาขายหรือเงื่อนไขการควบรวมกิจการ
  • เลือกวิธีการ Exit โดยมีหลายวิธีให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม เช่น ขายกิจการ IPO ควบรวมกิจการ หรือปิดกิจการ
  • เตรียมธุรกิจให้พร้อม ดำเนินการจัดการปัญหาภายในธุรกิจ พัฒนาธุรกิจให้มีศักยภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจจะได้เป็นจุดน่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการรายอื่น
  • ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ปรึกษาขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย การเงิน และธุรกิจเพื่อการวางแผนออกจากธุรกิจนี้เกิดประโยชน์สูงสุด

ผู้ประกอบการหลายท่านมักมองข้ามการวางแผนเกษียณออกจากธุรกิจ อาจจะเพราะเข้าใจว่าเป็นการวางมือหรือปิดกิจการ แต่ในความจริงแล้วการวางแผนเกษียณออกจากธุรกิจสามารถทำได้หลากหลายวิธีขึ้นอยู่ที่ว่าเหตุผลในการวางแผนนั้นคืออะไร อย่างไรก็แล้วแต่การจะวางแผนออกจากธุรกิจให้ได้ประโยชน์และมีประสิทธิภาพควรได้รับคำปรึกษาจากผู้ที่เชียวชาญ เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดได้ในอนาคต

ติดต่อเราบริษัท Idol Planner Consulting ตอนนี้เลย

ผู้นำด้านการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัว

ธุรกิจครอบครัว-กงสี คืองานถนัดของเรา

บริษัท ไอดอลแพลนเนอร์ จำกัด พร้อมช่วยสร้างความชัดเจนและความเป็นมืออาชีพให้กับธุรกิจครอบครัว ด้วยโซลูชั่นที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจครอบครัวโดยเฉพาะ พันธกิจของเราคือการช่วยเหลือให้ธุรกิจของครอบครัวคุณเติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นปึกแผ่นให้กับครอบครัวของคุณ