ธุรกิจที่เหมาะสำหรับการทำงานร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว

การทำธุรกิจร่วมกันสำหรับสมาชิกในครอบครัวถือเป็นหนึ่งในรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน เพราะนอกจากจะสร้างรายได้แล้วยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวให้แน่นแฟ้นมากขึ้นไปอีก ในบทความนี้ IPC จึงจะขอนำเสนอธุรกิจที่เหมาะสมสำหรับการทำงานร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว พร้อมแนวทางและข้อดีข้อเสียของการทำธุรกิจในรูปแบบนี้

ธุรกิจครอบครัวคืออะไร และทำไมถึงน่าสนใจ?

ธุรกิจครอบครัวคือการดำเนินกิจการที่สมาชิกในครอบครัวมีบทบาทสำคัญในโครงสร้างธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของ ผู้บริหาร หรือพนักงาน ซึ่งลักษณะเด่นของธุรกิจครอบครัวคือการบริหารจัดการที่มีความใกล้ชิด มีสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และมีความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน

ธุรกิจครอบครัวไม่จำกัดเฉพาะครอบครัวที่มีขนาดเล็ก เช่น ร้านขายของชำหรือร้านอาหาร แต่ยังครอบคลุมถึงธุรกิจขนาดกลางและใหญ่ เช่น บริษัทส่งออก โรงงานผลิตสินค้า หรือกิจการแฟรนไชส์ ธุรกิจเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศที่มีวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันของครอบครัว

การดำเนินธุรกิจครอบครัวไม่ได้มีเพียงเรื่องผลกำไรเท่านั้น แต่ยังมีแง่มุมด้านอารมณ์ ความเชื่อมโยง และเป้าหมายที่สอดคล้องกัน ซึ่งแตกต่างจากการดำเนินธุรกิจแบบอื่น และนี่คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ธุรกิจครอบครัวได้รับความนิยมในปัจจุบัน

1.ความเชื่อมั่นและความไว้วางใจระหว่างสมาชิกในครอบครัว ในสังคมปัจจุบัน ความไว้วางใจถือเป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นที่ยังต้องใช้ความพยายามในการสร้างความมั่นคง การทำธุรกิจร่วมกับสมาชิกในครอบครัวช่วยลดความเสี่ยงในการถูกหักหลังหรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง

2.ความยืดหยุ่นและการปรับตัว ธุรกิจครอบครัวสามารถปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากไม่มีขั้นตอนการอนุมัติที่ซับซ้อนเหมือนองค์กรขนาดใหญ่ การสื่อสารที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพทำให้ธุรกิจสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดได้ทันที

3.การส่งต่อธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่น ธุรกิจครอบครัวสามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่น ทำให้มีความมั่นคงและมีฐานที่แข็งแรงในระยะยาว ซึ่งแตกต่างจากธุรกิจที่พึ่งพาผู้จัดการหรือพนักงานที่อาจเปลี่ยนงานได้ตลอดเวลา

4.การสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นในครอบครัว การทำงานร่วมกันในธุรกิจช่วยให้สมาชิกในครอบครัวมีโอกาสใช้เวลาและทำกิจกรรมร่วมกันมากขึ้น การแบ่งปันความสำเร็จและอุปสรรคในธุรกิจจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น

ข้อดีและประโยชน์ของการทำธุรกิจครอบครัว

1.ความใกล้ชิดในการบริหารงาน ธุรกิจครอบครัวมีความใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน ทำให้เกิดการทำงานที่คล่องตัวมากขึ้น ผู้บริหารที่เป็นสมาชิกครอบครัวมักให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของธุรกิจในระยะยาวมากกว่าการเน้นผลกำไรระยะสั้น

2.การประหยัดต้นทุนในช่วงเริ่มต้น สมาชิกครอบครัวสามารถช่วยเหลืองานต่าง ๆ ได้โดยไม่เรียกร้องค่าจ้างสูงหรือค่าตอบแทนเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังมีการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน เช่น การใช้บ้านเป็นสำนักงานหรือที่เก็บสินค้า

3.การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีเอกลักษณ์ ธุรกิจครอบครัวมักมีค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรที่สะท้อนถึงตัวตนของครอบครัว เช่น การให้บริการที่อบอุ่น การให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้า หรือการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์

4.ความภักดีต่อธุรกิจ สมาชิกในครอบครัวมักมีความภักดีต่อธุรกิจของตัวเองมากกว่าพนักงานที่มาจากภายนอก ความภักดีนี้จะช่วยเพิ่มความมั่นคงในด้านการทำงานและการวางแผนระยะยาวได้

ข้อเสียและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในธุรกิจครอบครัว

แน่นอนว่าแม้ธุรกิจครอบครัวจะมีข้อดีมากมาย แต่ก็มีข้อเสียและความท้าทายที่ต้องระวัง ดังนี้

1.ความขัดแย้งภายในครอบครัว ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดอาจกลายเป็นดาบสองคม เพราะเมื่อหากมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันในเรื่องการบริหารหรือการตัดสินใจ ความขัดแย้งนี้อาจส่งผลกระทบต่อทั้งธุรกิจและชีวิตส่วนตัวของสมาชิกในครอบครัวได้

2.การขาดความเป็นมืออาชีพ บางครั้งสมาชิกในครอบครัวอาจขาดทักษะที่จำเป็นในการบริหารจัดการหรือดำเนินงาน ซึ่งอาจทำให้ธุรกิจไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างเต็มที่

3.ความยากลำบากในการแยกแยะเรื่องงานกับครอบครัว การทำธุรกิจครอบครัวอาจทำให้สมาชิกไม่สามารถแยกแยะระหว่างบทบาทในที่ทำงานและชีวิตส่วนตัวได้ เช่น การนำปัญหาเรื่องงานกลับมาพูดคุยที่บ้าน

4.ข้อจำกัดในการขยายธุรกิจ ธุรกิจครอบครัวอาจเผชิญกับข้อจำกัดในการหาเงินทุนหรือขยายกิจการ เนื่องจากแหล่งเงินทุนและทรัพยากรส่วนใหญ่อาจพึ่งพาเฉพาะสมาชิกในครอบครัวเท่านั้น

5.การสืบทอดธุรกิจที่ไม่ราบรื่น ในบางครอบครัว สมาชิกในรุ่นถัดไปอาจไม่สนใจหรือไม่มีความสามารถมากพอที่จะรับช่วงธุรกิจต่อ ทำให้ธุรกิจเกิดการหยุดชะงัก หรือร้ายแรงกว่านั้นคือธุรกิจไม่สามารถไปต่อได้ อาจจบลงในรุ่นปัจจุบัน

ลักษณะของธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จ

ธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จมักมีการบริหารจัดการที่ชัดเจน โดยสมาชิกในครอบครัวแต่ละคนมีบทบาทและหน้าที่ที่เหมาะสมตามความสามารถ ซึ่งช่วยเสริมสร้างความร่วมมือในการทำงานเป็นทีม นอกจากนี้ การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันและการสื่อสารที่ดีในครอบครัวยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเติบโตและสามารถปรับตัวตามสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความยั่งยืนทั้งในแง่ของการดำเนินงานและการส่งต่อธุรกิจไปยังรุ่นถัดไป

1.การกำหนดบทบาทที่ชัดเจน ธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จมักมีการกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคนอย่างชัดเจน เพื่อลดปัญหาความซ้ำซ้อนและปัญหาความขัดแย้ง

2.การวางแผนระยะยาว การมีเป้าหมายที่ชัดเจนและการวางแผนที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจครอบครัวสามารถดำเนินงานได้อย่างมั่นคงและเติบโตมากยิ่งขึ้นในอนาคต

3.การเปิดรับความคิดเห็นจากภายนอก แม้จะเป็นธุรกิจครอบครัว แต่การเปิดรับคำแนะนำหรือความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญภายนอกจะช่วยเพิ่มความเป็นมืออาชีพและศักยภาพในการแข่งขันกับตลาดได้อย่างเท่าทัน

ธุรกิจครอบครัวเป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่มีเอกลักษณ์และมีศักยภาพในการเติบโตในระยะยาว หากมีการวางแผนที่ดีและการจัดการที่เหมาะสมจะทำให้เกิดความเชื่อมั่น ความใกล้ชิด และความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจครอบครัวประสบความสำเร็จ แม้จะต้องเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ ก็ตาม

ตัวอย่างครอบครัวที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจร่วมกัน

ธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จมักมีจุดเริ่มต้นจากการทำงานร่วมกันบนพื้นฐานของความไว้วางใจ ความขยันหมั่นเพียร และการแบ่งปันเป้าหมายเดียวกัน ตัวอย่างธุรกิจครอบครัวที่สร้างชื่อเสียงในระดับประเทศและระดับโลกมีมากมาย โดยมีความหลากหลายทั้งในด้านอุตสาหกรรม แนวทางการดำเนินธุรกิจ และเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ตัวอย่างกลุ่มธุรกิจครอบครัวในประเทศไทย

1.ธุรกิจเครื่องดื่ม (กลุ่มไทยเบฟเวอเรจ)
กลุ่มไทยเบฟเวอเรจ เป็นเจ้าของเครื่องดื่มที่คนไทยรู้จักกันเปฌนอย่างดี เช่น เบียร์ช้าง ซึ่งเริ่มต้นจากการเป็นธุรกิจครอบครัวในสายงานสุราและเบียร์ โดยกลุ่มไทยเบฟเวอเรจบริหารงานผ่านตระกูลสิริวัฒนภักดี มีการแบ่งหน้าที่ระหว่างสมาชิกในครอบครัวอย่างชัดเจน ทำให้สามารถขยายกิจการกลายเป็นผู้นำในตลาดเครื่องดื่มของเอเชีย และเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ชัดเจนของการเติบโตจากธุรกิจครอบครัวสู่ธุรกิจระดับนานาชาติ

2.ธุรกิจอาหาร (ตำรับไทยน้ำพริกเผาแม่ประนอม)
แม่ประนอม แดงสุภา เป็นผู้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2502 โดยเริ่มต้นจากการทำน้ำพริกเผาสูตรเฉพาะส่งขายให้กับร้านค้า หลังจากนั้นครอบครัวช่วยกันพัฒนาสูตรและทำการผลิตน้ำพริกเผา จนกลายเป็นที่นิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ น้ำพริกเผาแม่ประนอมกลายเป็นแบรนด์ที่ทุกครัวเรือนรู้จัก และยังคงรักษาคุณภาพและเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์มาได้จนถึงปัจจุบัน

3.ธุรกิจโรงแรม (กลุ่มดุสิตธานี)
กลุ่มดุสิตธานีเริ่มต้นจากวิสัยทัศน์ของคุณหญิงชนัตถ์ ปิยะอุย ที่ต้องการสร้างโรงแรมไทยที่โดดเด่นทั้งในด้านบริการและการออกแบบ ครอบครัวปิยะอุยมีบทบาทสำคัญในการดูแลและพัฒนาโรงแรมในเครือดุสิตธานีให้เติบโตทั้งในประเทศและต่างประเทศ จนดุสิตธานีกลายเป็นเครือโรงแรมชั้นนำที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล พร้อมกับการส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทย

ตัวอย่างกลุ่มธุรกิจครอบครัวในระดับสากล

1.ธุรกิจค้าปลีก วอลมาร์ต (Walmart)
ก่อตั้งโดยแซม วอลตัน ในปี ค.ศ. 1962 วอลมาร์ตเริ่มต้นจากร้านค้าปลีกเล็ก ๆ ในรัฐอาร์คันซอ สหรัฐอเมริกา สมาชิกในครอบครัววอลตันมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวอลมาร์ต โดยเน้นการบริหารที่มีประสิทธิภาพและการขยายตัวอย่างรวดเร็ว วอลมาร์ตกลายเป็นเครือข่ายค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีสาขามากกว่า 10,000 แห่งในหลายประเทศ

2.ธุรกิจยานยนต์ ฟอร์ด มอเตอร์ (Ford Motor Company)
ก่อตั้งโดยเฮนรี ฟอร์ด ในปี ค.ศ. 1903 ฟอร์ดเริ่มต้นจากการผลิตรถยนต์ที่เข้าถึงคนทั่วไปได้ในราคาย่อมเยา ตระกูลฟอร์ดยังคงมีบทบาทสำคัญในบริษัท แม้ว่าจะมีการจ้างผู้บริหารมืออาชีพเข้ามาเสริมทีม ฟอร์ดเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของโลก และยังคงพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน

3.ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เฟอร์เรโร (Ferrero Group)
ก่อตั้งโดยครอบครัวเฟอร์เรโรในปี ค.ศ. 1946 ที่ประเทศอิตาลี โดยเริ่มต้นจากการผลิตช็อกโกแลตและผลิตภัณฑ์จากถั่ว ครอบครัวเฟอร์เรโรยังคงเป็นเจ้าของและยังคงบริหารบริษัท ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้ายอดนิยม เช่น Nutella, Ferrero Rocher และ Kinder เฟอร์เรโรกลายเป็นหนึ่งในผู้ผลิตขนมหวานชั้นนำของโลก ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงในหลายประเทศจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

ปัจจัยความสำเร็จในธุรกิจครอบครัวเหล่านี้

ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจครอบครัวอยู่ที่การมีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน สมาชิกครอบครัวต้องมีบทบาทและหน้าที่ที่เหมาะสม พร้อมสื่อสารและแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ความน่าเชื่อถือในตลาดเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสร้างชื่อเสียงและความไว้วางใจในสินค้าและบริการ นอกจากนี้ การเตรียมความพร้อมให้รุ่นถัดไปยังสามารถช่วยสืบทอดธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของความยั่งยืน การผสมผสานเหล่านี้จะทำให้ธุรกิจครอบครัวเติบโตและประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว

ธุรกิจที่เหมาะสำหรับการทำงานร่วมกันของสมาชิกในครอบครัวมักจะเป็นธุรกิจที่มีขนาดเล็กถึงกลาง ซึ่งสามารถปรับตัวได้ง่ายและเน้นความร่วมมือกันในทุกขั้นตอน เช่น ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจสินค้าแฮนด์เมด หรือธุรกิจค้าปลีกที่มีการบริการลูกค้าอย่างใกล้ชิด ธุรกิจเหล่านี้ไม่เพียงแต่ใช้ทักษะและความเชี่ยวชาญที่หลากหลายจากในสมาชิกครอบครัว แต่ยังเสริมสร้างความสัมพันธ์และการทำงานเป็นทีม ช่วยให้สมาชิกแต่ละคนมีบทบาทสำคัญในการเติบโตของธุรกิจ ทำให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืนและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้ดี


สำหรับท่านที่ต้องการสอบถามหรือรับคำปรึกษาเบื้องต้น
สามารถกรอกรายละเอียดได้ที่ฟอร์มแนบ
https://forms.gle/YMvaxRmnpqiNUGdVA

หรือติดต่อตามช่องทางที่ปรากฎไว้ดังนี้
Line : @idolplanner
Tel : 02-010-8823

ติดต่อเราบริษัท Idol Planner Consulting ตอนนี้เลย

ผู้นำด้านการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัว

ธุรกิจครอบครัว-กงสี คืองานถนัดของเรา

บริษัท ไอดอลแพลนเนอร์ จำกัด พร้อมช่วยสร้างความชัดเจนและความเป็นมืออาชีพให้กับธุรกิจครอบครัว ด้วยโซลูชั่นที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจครอบครัวโดยเฉพาะ พันธกิจของเราคือการช่วยเหลือให้ธุรกิจของครอบครัวคุณเติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นปึกแผ่นให้กับครอบครัวของคุณ