ธุรกิจครอบครัว ทำไมถึงมักทำให้ล่มสลายใน 3 รุ่น เจาะลึก 4 ประเด็นสำคัญพร้อมวิธีแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

ธุรกิจครอบครัว Family Business นับเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยคิดเป็นสัดส่วนกว่า 80% ของกิจการทั้งหมดในไทย แต่ในทางกลับกันเราจะเห็นจากผลสำรวจหลากหลายที่ บ่งบอกว่าธุรกิจเหล่านั้นมีอัตราการเหลือรอดไม่ถึง 5% เมื่อดำเนินกิจการมาถึงรุ่นที่ 4

4 ปัญหาสำคัญที่ทำให้ธุรกิจครอบครัวไม่สามารถดำเนินกิจการได้อย่างยั่งยืน

1.กิจการครอบครัวมักขาดการวางแผนด้านส่งต่อ

จากผลสำรวจของ PWC พบว่า ธุรกิจมากกว่า 50% ไม่มีการวางแผนการสืบทอดกิจการ และคิดว่าหน้าที่การสืบทอดธุรกิจนั้นจะตกเป็นของคนๆหนึ่ง โดยเป็นอันรู้กันในครอบครัว ซึ่งอาจจะเป็นลูกคนโตที่เข้ามาสานต่อธุรกิจ หรืออาจจะปล่อยให้ทายาทไปตกลงกันเองในอนาคต

แต่ในความเป็นจริงแล้ว การวางแผนสืบทอดเป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วม ทั้งในกระบวนการเลือกผู้สืบทอดและการเตรียมความพร้อมของทายาทธุรกิจ ไม่ใช่แค่การเลือกจากความเห็นของผู้บริหารในรุ่นปัจจุบัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้นำครอบครัวเสียชีวิตโดยไม่มีการวางแผนรองรับ จะทำให้ระบบการบริหารการจัดการเกิดความยุ่งยาก การวางแผนด้านการส่งต่อธุรกิจที่ดีจะต้องมีความครอบคลุมในด้านของระบบการทำงานของบุคลากรทุกคนเมื่อผู้บริหารนั้นเปลี่ยนมือ

2.ความขัดแย้งในครอบครัว และการบริหารทรัพย์สินที่ไม่เป็นระบบ

ความขัดแย้งในธุรกิจเป็นเรื่องที่ทุกกิจการมักจะพบเจอซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ แต่การที่ครอบครัวไม่มีวิธีบริหารความขัดแย้งนั้นเป็นรากฐานของปัญหาที่ก่อให้เกิดการล่มสลายของกิจการ ดังนั้นการหาวิธีเพื่อป้องกันหรือแก้ปัญหาความขัดแย้งในธุรกิจครอบครัวจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ถึงแม้จะเป็นธุรกิจครอบครัวก็ต้องมีการดำเนินกิจการด้วยความเป็นมืออาชีพ การแก้ปัญหาความไม่ลงรอยกัน ก็ต้องที่จะมีการจัดการที่เป็นมาตรฐานและหาทางออกไปพร้อมกัน

หนึ่งในปัญหาคลาสสิกที่ครอบครัวไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตามมักจะพบเจอคงหนีไม่พ้นเรื่องของทรัพย์สิน ซึ่งมักเป็นสาเหตุของปัญหาทั้งเรื่องเล็กน้อยและเรื่องใหญ่ ดังนั้นหากต้องการที่จะลดปัญหาของการอยู่ร่วมกันหรือทำงานร่วมกัน สิ่งที่ควรจะต้องดำเนินการเป็นเรื่องแรกก็คือ การสร้างความชัดเจนในการบริหารทรัพย์สินส่วนกลาง และการสร้างข้อตกลงร่วมกัน

หากเป็นครอบครัวที่ใหญ่มีสมาชิกหลายคน การสื่อสาร การจัดสรรผลประโยชน์ นโยบายการจ้างงานของสมาชิกครอบครัว แผนการถือครองทรัพย์สิน และวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งในอนาคต ก็ควรที่จะมีการจัดทำ ไว้ในธรรมนูญครอบครัวให้เป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน

การจัดทำธรรมนูญครอบครัวจะช่วยกำหนดแนวทาง และกฎระเบียบภายในครอบครัวให้สมาชิกทุกคนได้เห็นถึงความชัดเจน ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการเกิดปัญหาระหว่างกันในอนาคตได้

การที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจนั้นเป็นหน้าที่ของสมาชิกทุกคนที่มีส่วนร่วม หากคุณเป็นเจ้าของกิจการ คุณต้องให้เวลากับการสื่อสารกับสมาชิกในครอบครัว อธิบายบทบาทและหน้าที่ของพวกเขาในปัจจุบันและอนาคต ความไม่ชัดเจนในระบบการบริหารเป็นสิ่งสำคัญที่หลายครอบครัวมักจะมองข้ามไป ดังนั้นถ้าคุณกำลังเป็นผู้บริหารธุรกิจหรือหัวหน้าครอบครัว การสื่อสารด้านระบบบริหารนั้นเป็นสิ่งที่จะขาดไม่ได้

3.การไม่มีบุคลากรที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจและไม่มีผู้สืบทอดตำแหน่ง

ธุรกิจครอบครัวมักจะนำคนในตระกูล เครือญาติขึ้นมารับตำแหน่งงานเพียงเพราะเป็นคนในครอบครัว การที่จะนำคนเข้ามาทำงานให้กับกิจการควรพิจารณาด้านความเหมาะสมในด้านของความสามารถเพื่อที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตขึ้น นอกจากนี้ ครอบครัวควรมีการพิจารณาในด้านการนำมืออาชีพที่เป็นบุคคลภายนอกเข้ามาช่วยบริหารด้วย

เราแนะนำ ระบบการเข้าทำงานควรจะมีความเป็นมืออาชีพเหมือนบริษัทที่ทำธุรกิจจริงๆ ก่อนจะนำคนในครอบครัวเข้ามารับตำแหน่งในธุรกิจ เราอยากให้คุณตั้งคำถามเหล่านี้

– สมาชิกที่จะเข้ามาทำงานในครอบครัวผ่านเกณฑ์ในการคัดเลือกอย่างไร?

ต้องการประสบการณ์หรือการศึกษาด้านในเป็นพิเศษ?

ระบบสวัสดิการหรือรายได้มีความเป็นมาตรฐานหรือไม่?

มีการกำหนดรายละเอียดงาน เวลาทำงานที่ชัดเจนหรือไม่?

มีการวัดผลด้านประสิทธิภาพการทำงานเหมือนพนักงานคนอื่นๆหรือไม่?

คำถามเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยในการคัดคนเข้าทำงาน รวมถึงช่วยคุณตั้งความคาดหวังจากสมาชิกที่จะเข้ามาทำงานให้กับธุรกิจครอบครัวได้

4.ขาดความรู้ด้านบริหารด้านการเงินบริษัท

การที่ไม่มีความรู้ด้านการบริหารการเงินบริษัท เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจครอบครัวนั้นล้มเหลวมามาก ผู้ที่ทำงานให้กับกิจการในครอบครัวควรที่จะต้องมีความรู้ด้านการบริหารการจัดการระบบหลังบ้านด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเงิน บัญชี ภาษี การที่มีความรู้พื้นฐานเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจกระทำการหลายๆอย่างเพื่อธุรกิจและในการบริหารได้เป็นอย่างดี

หนึ่งในสิ่งที่สิ่งสำคัญที่สุดของการดำเนินธุรกิจให้ไปต่อได้ คือกิจการต้องมีเงินสดเพียงพอที่จะใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น หากวันใดธุรกิจขาดสภาพคล่องทางการเงิน หรือไม่ได้มีการวางแผนสำรองในเรื่องของโครงสร้างการเงิน นี่ก็เป็นเหตุผลหลักๆ ที่ทำให้ธุรกิจนั้นไม่สามารถไปต่อได้ โดยเราสามารถสังเกตุได้ในช่วง Covid-19 ที่ทำให้กิจการในหลากหลายอุตสาหกรรมที่ไม่มีโครงสร้างระบบการเงินรองรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ต้องปิดตัวลงไปมากมาย

แต่หากมีการบริหารจัดการสภาพคล่องได้ดี ธุรกิจของก็จะมีโอกาสที่จะฟื้นตัวและสร้างผลกำไรได้อีกในอนาคต

ผู้ที่สร้างธุรกิจขึ้นมาด้วยความยากลำบากมักจะเข้าใจปัญหาด้านสภาพคล่องของธุรกิจเป็นอย่างดี ดังนั้นคุณก็ควรที่จะส่งต่อความรู้ในด้านนี้ให้แก่คนในครอบครัวหรือผู้สืบทอดให้รับรู้เรื่องนี้ด้วย

แก้ปัญหาธุรกิจครอบครัวด้วยธรรมนูญครอบครัว

การปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจครอบครัวแบบเดิม เพื่อเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจแบบใหม่ด้วยการจัดโครงสร้างของธุรกิจ โดยจัดทำในรูปแบบที่เรียกว่า “ธรรมนูญครอบครัว” เพื่อสร้างความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ให้แก่สมาชิก ว่ากำลังอยู่ในบทบาทหน้าที่อะไร รวมถึงกำหนดข้อตกลงร่วมกันของสมาชิกครอบครัว

ธรรมนูญครอบครัวสำคัญอย่างไร

การรักษาความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวให้มีความยั่งยืนนั้นจะว่าไปแล้วก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ตัวช่วยในการสร้างความสัมพันธ์ให้อยู่รอดได้ เพื่อสร้างกฎ กติกา และกำหนดประเด็นให้ชัดเจนว่าสมาชิกแต่ละคนมีบทบาทอะไรในธุรกิจของครอบครัว และหน้าที่ในครอบครัว ใครจะเข้ามาเป็นผู้สืบทอดธุรกิจของครอบครัว ข้อตกลงที่ว่านั้นก็คือ “กติกาครอบครัว” ดังนั้นจึงเกิดแนวทางด้านการจัดทำ “ธรรมนูญครอบครัว” หรือ Family Constitution ขึ้นมาเพื่อเป็นเอกสารสำหรับการเก็บรวบรวมกติกาเหล่านี้ขึ้นมา

ธรรมนูญครอบครัวมีส่วนช่วยในการดำเนินธุรกิจ และสมาชิกในครอบครัวอย่างไร ?

การวางแผนสืบทอดธุรกิจ

บุคคลที่เข้ามาสานต่อกิจการได้ถูกคัดเลือกจากคนที่มีความสามารถ เพื่อบริหารจัดการธุรกิจ มีการสร้างเป้าหมายร่วมกัน ทำให้สมาชิกทุกคนเดินไปในทิศทางเดียวกัน

การกำหนดค่าตอบแทน

ลดปัญหาของความไม่เท่าเทียมของสมาชิกในครอบครัว มีการกำหนดการได้รับผลตอบแทนที่ชัดเจน ระหว่างคนที่ทำงานให้ธุรกิจของครอบครัว กับบุคคลที่ไม่ได้เข้ามาทำงานให้กับธุรกิจของครอบครัว

การนำเงินกงสีออกจากใช้

กำหนดประเด็นในการเบิกเงินกงสี และวิธีการบริหารเงินกงสีให้งอกเงยขึ้น เพื่อไม่ให้เงินกงสีถูกนำออกมาใช้โดยไม่มีความจำเป็น

การกำหนดผู้ถือหุ้นของบริษัท

การถือหุ้นของสมาชิกครอบครัวมีความชัดเจน และเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นทุกราย และจัดให้มีการทำสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น เพื่อตกลงเรื่องการถือครอง และการโอนสิทธิ์ของบริษัท

การมีสวัสดิการของครอบครัว

สิทธิประโยชน์ ที่บุคคลได้รับอันเนื่องมาจากการเป็นสมาชิก สิทธิประโยชน์อาจอยู่ในรูปแบบของค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียน เงินเดือนสำหรับผู้สูงอายุ หรือเงินช่วยเหลือต่างๆ เป็นต้น วัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีเพื่อที่สมาชิกไม่ต้องออกไปทำงานหรือทำสิ่งที่อาจจะส่งผลเสียต่อชื่อเสียงวงศ์ตระกูล

การดำเนินงานเพื่อให้ธุรกิจของครอบครัวโตอย่างยั่งยืน

ผู้นำมีวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจที่ดี ให้ธุรกิจมีความก้าวหน้า กล้าที่จะลงทุนในสิ่งใหม่ๆ มีการกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจน และปลูกฝังคนในครอบครัวให้เรียนรู้วิธีการทำงาน รับฟังความคิดเห็นของคนทุกช่วงอายุ และรู้จักพัฒนาต่อยอดธุรกิจ พร้อมทั้งวางรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ติดต่อเราบริษัท Idol Planner Consulting ตอนนี้เลย

ผู้นำด้านการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัว

ธุรกิจครอบครัว-กงสี คืองานถนัดของเรา

บริษัท ไอดอลแพลนเนอร์ จำกัด พร้อมช่วยสร้างความชัดเจนและความเป็นมืออาชีพให้กับธุรกิจครอบครัว ด้วยโซลูชั่นที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจครอบครัวโดยเฉพาะ พันธกิจของเราคือการช่วยเหลือให้ธุรกิจของครอบครัวคุณเติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นปึกแผ่นให้กับครอบครัวของคุณ