คุณมีความรู้เกี่ยวกับภาษีครอบคลุมขนาดไหน ?
คุณมีความรู้เกี่ยวกับภาษีครอบคลุมขนาดไหน ?
เก็บตกภาพบรรยากาศสำหรับหลักสูตร All Tax ในวันที่ 1-3 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ก่อนอื่นทางทีม Idol Planner Consulting ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจสำหรับหลักสูตรในครั้งนี้ โดยภายใน 3 วันเป็นการรวบรวมความรู้เกี่ยวกับภาษีที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับนักบัญชี เจ้าของกิจการ หรือแม้กระทั่งผู้ที่สนใจ เนื้อหาถูกอัดแน่นจัดเต็มเพื่อให้ได้ความรู้ครบถ้วน อาทิ หลักการบัญชี, ภาษีเงินได้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดา, เงินได้ที่ได้รับการยกเว้น, VAT หัก ณ ที่จ่าย รวมถึงการ Workshop งบการเงิน บริษัท Idol Planner Consulting ได้จัดสัมมนาหลักสูตร All Tax รอบรู้เรื่องภาษี ณ โรงแรมแรมแรนด์ ในวันที่ 1 – 3 มีนาคม 2567 ซึ่งหลักสูตรในครั้งนี้จะทำให้เจ้าของธุรกิจ รวมถึงที่ปรึกษาการเงินมีความเข้าใจหลักกฎหมายภาษีอากร และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนภาษีธุรกิจ เพื่อลดความเสี่ยงและประหยัดได้มากยิ่งขึ้น โดยภายใน 3 วันนี้หลักสูตรถูกอัดแน่นไปด้วยความรู้ต่าง ๆ มากมาย… Continue reading ภาพบรรยากาศสำหรับหลักสูตร All Tax
ความเสี่ยงของการ ส่งต่อธุรกิจครอบครัว
Holding Company คือ บริษัทที่มีการประกอบธุรกิจ โดยมีรายได้จากการถือหุ้นในบริษัทอื่นเป็นหลัก ไม่ได้มีธุรกิจเป็นของตนเอง อาจเป็นการลงทุนทั้งบริษัทในไทยและต่างประเทศก็ได้ และต้องถือหุ้นในบริษัทย่อยอย่างน้อย 1 บริษัท ซึ่งจะทำให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในบริษัทย่อยตามสัดส่วนการถือหุ้น โดยรายได้จะอยู่ในรูปแบบของเงินปันผล ซึ่งจะเป็นส่วนที่ได้รับการยกเว้นภาษีนิติบุคคล เนื่องจากเงินจำนวนนี้ได้มีการเสียภาษีมาแล้วในนามของบริษัทย่อย ถ้ามีการเก็บภาษีอีกรอบ จะเป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อน ด้วยคอนเซปต์ของบริษัทโฮลดิ้งและประโยชน์ทางด้านภาษี จึงทำให้เป็นโมเดลที่ได้รับความนิยมในกิจการที่เป็นธุรกิจครอบครัว ที่จะมีการตั้งบริษัทแม่มาถือหุ้นในบริษัทลูก ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดด้านภาษีแล้ว ยังง่ายต่อการส่งต่อธุรกิจครอบครัวอีกด้วย แต่จะง่ายและดีอย่างไรนั้น Idol Planner จะพามาชำแหละข้อดีของบริษัทโฮลดิ้งด้านภาษีและด้านการส่งต่อ ข้อดีด้านภาษีของบริษัทโฮลดิ้ง ในกรณีที่บริษัทโฮลดิ้งถือหุ้นในบริษัทย่อยตามเกณฑ์ที่สรรพากรกำหนดคือ ถ้ามีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดบริษัทโฮลดิ้ง ก็จะได้รับยกเว้นภาษี เช่น ข้อดีด้านการลงทุนของบริษัทโฮลดิ้ง บริษัทโฮลดิ้งจะได้รับเงินปันผลแบบเต็มจำนวน โดยเงินจำนวนนี้สามารถนำไปลงทุนในบริษัทอื่น ๆ ที่ต้องการขยายกิจการได้ ทั้งยังนำมาใช้จัดสรรเป็นสวัสดิการให้กับคนในครอบครัวได้อีกด้วย ในส่วนของการจัดสรรสวัสดิการนี้ ถ้ามีการวางแผนภาษีดี ก็จะสามารถได้รับยกเว้นภาษีหรือต้องเสียภาษีน้อยไปอีกขั้น ข้อดีด้านโครงสร้างบริษัทของบริษัทโฮลดิ้ง เมื่อธุรกิจครอบครัวมีกิจการหลาย ๆ บริษัทอยู่ในมือ ปัญหาที่มักเกิดขึ้นคือโครงสร้างที่ไม่ชัดเจน ถ้ามีการปรับโครงสร้างเข้าสู่บริษัทโฮลดิ้ง โครงสร้างภายในเครือก็จะมีความชัดเจนขึ้น ไม่กระจัดกระจาย สามารถตรวจสอบได้ง่ายและเป็นระบบ บริษัทแม่สามารถเห็นผลประกอบการทั้งหมดของบริษัทในเครือได้ชัดเจน ซึ่งจะง่ายต่อการจัดสรรเงินสวัสดิการและการนำไปลงทุนต่อยอดในกิจการต่าง ๆ ข้อดีด้านการส่งต่อกิจการของบริษัทโฮลดิ้ง เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจครอบครัว สำหรับบริษัทโฮลดิ้งจึงมักจะมีการกำหนดเรื่องของการส่งต่อกิจการแบบรุ่นสู่รุ่น แบบที่ทายาทไม่สามารถยกมรดกให้กับคู่สมรสหรือให้ใครก็ได้ตามใจชอบ… Continue reading ชำแหละข้อดี Holding Company ทั้งด้านภาษีและการส่งต่อ
สิ่งที่อยู่ควบคู่กับคนทำธุรกิจมาเนิ่นนานและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เรียกได้ว่าเป็นพันธะผูกพันด้านกฎหมาย สิ่งที่ว่านี้ก็คือ ‘ภาษี’ นั่นเอง ไม่ว่าธุรกิจเล็กหรือใหญ่ล้วนแต่ต้องเสียภาษีกันทั้งนั้น ที่สำคัญค่าใช้จ่ายในการเสียภาษี นับว่าเป็นรายจ่ายที่มีมูลค่าสูงลำดับแรก ๆ ของการทำธุรกิจ ซึ่งมีมูลค่ามากถึง 20% ของกำไรก่อนหักภาษี เรียกได้ว่าธุรกิจยิ่งมีขนาดใหญ่ เม็ดเงินที่ต้องเสียไปก็ยิ่งเยอะตาม จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมหลาย ๆ บริษัทถึงต้องมีการบริหารจัดการวางแผนภาษีขององค์กร เพราะการ ‘วางแผนภาษี’ จะช่วยรักษาผลประโยชน์ที่พึงมีตามกฎหมายของบริษัท ช่วยประหยัดรายจ่ายด้านภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมจำกัดความเสี่ยงในการถูกประเมินภาษีย้อนหลังได้อีกด้วย ทำไมถึงต้อง “วางแผนภาษี” เพื่อที่จะให้ธุรกิจเสียภาษีได้อย่างถูกต้อง ป้องกันโทษและความรับผิดชอบจากการเสียภาษีผิดพลาด หาแนวทางการประหยัดภาษีสูงสุด นอกจากนั้นยังช่วยลดความเสี่ยงจากการเข้าตรวจของสรรพากรอีกด้วย หลาย ๆ ธุรกิจมักใช้การจัดการงบการเงินเพียงแค่ทำการบันทึกเข้าระบบ โดยปราศจากการวางแผน ทำให้บางครั้งมักมองข้ามรายละเอียดบัญชีเล็ก ๆ น้อย ๆ ไป ทำให้เมื่อสรุปออกมาแล้ว งบการเงินมีจุดที่ผิดปกติ ซึ่งจะกลายเป็นจุดเสี่ยงที่สรรพากรตรวจพบ ทำให้ธุรกิจของเราต้องเสียทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ทั้งยังต้องเสียเครดิต ชื่อเสียงบริษัทอีกด้วย รายละเอียดที่เรามักละเลยและสรรพากรมักตรวจพบ ➡︎ บันทึกรายได้ไม่ถูกต้อง➡︎ การสร้างค่าใช้จ่ายเท็จ➡︎ ขาดทุนสะสมเป็นเวลานาน➡︎ ค่าใช้จ่ายเพิ่มแต่รายได้ลดลง➡︎ ค่าใช้จ่ายสูงเมื่อเทียบกับรายได้➡︎ บันทึกรายการโดยใช้เงินสดเป็นหลัก➡︎ บันทึกรายได้ไม่ครบถ้วน ไม่สอดคล้อง➡︎ ทรัพย์สินน้อยหรือมากเกินไปไม่สอดคล้องกับรายได้… Continue reading สิ่งที่คนทำธุรกิจต้องรู้ วางแผนภาษี ควรเริ่มจากอะไร
เมื่อกล่าวถึงธุรกิจกงสี หลายคนอาจเกิดข้อสงสัยว่าหน่วยธุรกิจขนาดไหนถึงจะนับว่าเป็นธุรกิจกงสีได้ แท้จริงแล้ว “ธุรกิจกงสี” หมายถึงกิจการที่ใช้ระบบสมาชิกในครอบครัวทำงานร่วมกัน เพราะฉะนั้นในรูปแบบธุรกิจเช่นนี้จึงมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ปะปนกันไป เช่น กิจการร้านขายส่งของที่บ้าน หรือธุรกิจห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่ที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ก็นับว่าเป็นธุรกิจกงสีได้เช่นกัน แต่ถ้าหากพูดถึงธุรกิจครอบครัวที่มีขนาดใหญ่ จนอาจเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในธุรกิจกงสีที่ใหญ่ที่สุดในโลก เชื่อว่าไม่มากก็น้อยหลายคนต้องเคยได้ยินคำว่า “แชโบล” มาบ้าง ไม่ว่าจะในซีรีส์เกาหลีหรือภายในข่าวเศรษฐกิจก็ตาม เพราะกลุ่ม “แชโบล” นี้ คือกลุ่มนายทุนยักษ์ใหญ่ที่ครอบครองสัดส่วน GDP ของประเทศเกาหลีใต้ไปเกือบ 90% และที่สำคัญคือในบรรดากลุ่มมหาเศรษฐี “แชโบล” พวกเขามีความเกี่ยวข้องทางสายเลือดในฐานะเป็นเครือญาติกันอีกด้วย ต้นกำเนิดของแชโบล หลังผ่านสงครามโลกครั้งที่1 สงครามโลกครั้งที่2 ก่อนจะเป็นการปิดฉากสงครามตัวแทนระหว่างเกาหลีเหนือ- เกาหลีใต้ รัฐบาลเกาหลีใต้ ณ ขณะนั้น โดยการนำของ Rhee Syng-man มุ่งเน้นไปที่การพัฒนากองทัพเป็นหลัก อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับกองทัพจึงเติบโต และจุดเริ่มต้นของแชโบลได้เกิดขึ้น ณ เวลานั้น จนกระทั่งเกาหลีใต้ถูกปกครองโดยรัฐบาลเผด็จการของ Park Chung-hee ได้ตั้งเป้าหมายขับเคลื่อนให้เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมหนัก นำไปสู่การร่วมมือของภาครัฐและเอกชน รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการหลายกลุ่ม มุ่งเน้นไปที่รถยนต์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แชโบลเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจหลักที่ถูกรัฐคัดสรร โดยตัวแปรสำคัญที่ทำให้กลุ่มนายทุนยักษ์ใหญ่ผงาดขึ้นได้จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากในขณะนั้น รัฐบาลได้ออกนโยบายกีดกันทางการค้าเพื่อหนุนธุรกิจของกลุ่มที่ช่วยเหลือรัฐบาล ในเวลาไม่นาน ด้วยแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจนี้ทำให้เศรษฐกิจของเกาหลีใต้เติบโตรวดเร็วจนก้าวขึ้นมาเป็น… Continue reading กรณีศึกษา “แชโบล” นายทุนยักษ์ใหญ่ ผู้กุมบังเหียนเศรษฐกิจเกาหลีใต้
ย้อนรอยเคสดังในปี 2021 เมื่อเหล่าทายาทของอาณาจักรธุรกิจเทคโนโลยียักษ์ใหญ่แห่งแดนโสม ต้องควักเนื้อจ่าย “ภาษีมรดก” ก้อนใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ที่มีมูลค่ามากถึง 338,137 ล้านบาท
ยุคข้าวยากหมากแพงแบบนี้ นอกจากจะต้องกังวลกับภาระค่าใช้จ่ายในปัจจุบันแล้ว แต่สำหรับหลาย ๆ คนอาจจะกังวลไปถึงล่วงหน้าในอนาคต โดยเฉพาะในวันที่ต้องหมดวัยทำงานหรือการ “เกษียณอายุ” ที่ไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ความกังวลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอาจเพิ่มพูนขึ้นได้เป็นสองหรือสามเท่า หากคุณเป็นเจ้าของกิจการที่ต้องการจะเกษียณตัวเองออกจากการทำงาน แต่ยังมีชนักติดหลัง กังวลใจเกี่ยวกับธุรกิจที่ต้องส่งต่อให้ลูกหลาน ทั้งยังกลัวว่าตัวเองจะหมดบทบาทในฐานะที่เป็นผู้นำมาทั้งชีวิต กลัวว่าธุรกิจที่สร้างมากับมือจะไม่เจริญงอกงาม เมื่อลูกหลานเข้ามาบริหารไม่ได้ดั่งใจก็ไม่มีสิทธิ์ไปก้าวก่าย หรือแม้กระทั่งเงินบำนาญที่ควรจะได้ก็กลัวจะอยู่ไม่สุขสบายเหมือนตอนทำงาน ความกังวลและความเสี่ยงเหล่านี้สามารถควบคุมได้ ต่อเมื่อมีการวางแผนที่รัดกุม เคล็ดลับการเกษียณออกจากธุรกิจ อยากเกษียณแบบอยู่สบาย ทำไมต้องทำ Exit Plan? เพราะ Exit Plan คือการวางแผนของเจ้าของกิจการเมื่อเกษียณตัวเองออกจากการทำธุรกิจ เพราะหลังจากวางมือแล้วตัวเจ้าของเองอาจจะไม่มีรายได้ที่เป็นรูปแบบของเงินเดือนหรือเงินปันผลอื่น ๆ เหมือนที่เคยได้รับมาตลอด ดังนั้นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เราอยู่อย่างสุขสบายในวัยเกษียณ นั่นก็คือ “การวางแผนการเงินและการเก็บออมหรือลงทุน” นั่นเอง Exit Plan? จะช่วยวางแผนเกษียณให้ราบรื่นได้อย่างไร? ▶ ช่วยเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ที่อาจจะส่งผลกระทบเชิงลบกับกิจการในอนาคต▶ ช่วยในการเตรียมขายหุ้นทั้งหมดหรือบางส่วนของกิจการให้แก่บุคคลภายนอกอย่างมีมูลค่าและสร้างความดึงดูดให้กับนักลงทุน▶ ช่วยในการสร้าง Business Plan ตั้งแต่ต้นจนสุดทางครอบคลุมทุกแง่มุมไปจนถึงผู้สืบทอดรุ่นต่อ ๆ ไป▶ ช่วยเตรียมแผนการเงินหลังเกษียณให้กับเจ้าของกิจการหลังออกจากธุรกิจ อยากเริ่มวางแผน Exit Plan ต้องทำอะไรบ้าง? 1) กำหนดวิธีที่จะเกษียณตัวเองออกจากธุรกิจและกำหนดเป้าหมายหลังออกมาการเลือกผู้สืบทอดทางธุรกิจเป็นอีกหนึ่งกระบวนการที่จะทำให้เราสามารถวางแผนการล่วงหน้าได้สะดวกขึ้น… Continue reading รู้สิ่งนี้แล้วสบาย วางแผนเกษียณยังไง ให้มีเงินใช้ไปทั้งชาติ
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นภาษีที่ภาครัฐเก็บจากผู้ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือเป็นภาษีที่เก็บจากความมั่งคั่งของประชาชน สำหรับผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี คือ เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ โดยเจ้าของฯสามารถผลักภาระ กรณีที่นำอสังหาริมทรัพย์หรือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปให้ผู้อื่นเช่า สามารถผลักภาระให้ผู้เช่าเป็นผู้จ่ายได้ ส่วนผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บ คือ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาลตำบล เทศบาลเมืองต่าง ๆ วิธีในการคำนวณภาษี นำเอามูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งหมายถึงตัวที่ดิน ใช้ราคาประเมินของกรมธนารักษ์ และถ้ามีสิ่งปลูกสร้างด้วยก็ใช้สิ่งปลูกสร้างนั้นหักด้วยค่าเสื่อมราคาก่อน ถ้าเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของเดียวกันก็เอาทรัพย์สินทั้ง 2 อย่างมารวมกัน แล้วก็ดูการใช้ประโยชน์แบบใด ภาครัฐจัดเก็บอัตราภาษี ถูก แพง ขึ้นอยู่กับการใช้ประโยชน์ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ โดยการใช้ประโยชน์แบ่งออกเป็น 4 แบบ ได้แก่ 1) ที่ดินที่ใช้สำหรับการเกษตร อัตราภาษีถูกที่สุด2) ที่ดินที่ใช้ประโยชน์สำหรับการพักอาศัยของประชาชน3) อื่น ๆ4) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ไม่ได้ใช้ประโยชน์ใด ๆ อัตราภาษีจะเป็นแบบอัตราก้าวหน้า แบ่งตามการใช้งาน โดยภายใน 2 ปีแรก (พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564)… Continue reading ภาษีที่ดิน คำนวณยังไง? 3 เทคนิคสำคัญในการวางแผนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
สาเหตุของการโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง 1. เมื่อถึงเวลาที่ต้องยื่นเสียภาษีแล้วแต่ไม่ยื่น 2. รายงานหรืองบการเงินที่นำส่งกับทางสรรพากรมีความผิดปกติ เนื่องจากอาจจะมีความผิดปกติในงบบางอย่างที่เจ้าของธุรกิจเองไม่ทราบ ทำให้กรมสรรพากรต้องเข้ามาตรวจสอบย้อนหลังนั่นเอง ประเด็นที่ทำให้สรรพากรให้เข้ามาตรวจสอบ และหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรใช้ในการตรวจสอบ ▶ อัตราส่วนทางการเงิน▶ ค่าใช้จ่ายเมื่อเปรียบเทียบกับยอดขายโดยอ้างอิงจากข้อมูลในปีก่อน ๆ หรือเปรียบเทียบกับประเภทธุรกิจเดียวกัน ว่ามีค่าใช้จ่ายอยู่ใน Range เท่าไร อย่างไร▶ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีความรู้ และต้องสังเกตเมื่อต้องลงลายมือชื่อรับรองงบการเงิน การยื่นชำระภาษี เพราะถ้านำส่งเรียบร้อยแล้วจะค่อนข้างยากที่จะแก้ไขในภายหลัง เนื่องจากในอดีตจะเป็นการยื่นแบบกระดาษ จึงใช้เวลานานในการตรวจสอบ เฉลี่ย 3 – 4 ปี ส่งผลให้ข้อมูลที่ถูกตรวจสอบกว่าจะถึงเจ้าของธุรกิจเกิดความล่าช้า และทำให้เกิดดอกเบี้ย เรียกว่า “เงินเพิ่ม” ในอัตรา 1.5% ต่อเดือน ฉะนั้นถ้าสรรพากรเข้ามาตรวจสอบมักจะไม่ค่อยกลับไปมือเปล่ามักจะได้ตัวภาษีที่ต้องการบวกกับเบี้ยปรับและเงินเพิ่มติดไปด้วย แต่ในปัจจุบัน กรมสรรพากรมีการเปลี่ยนนโยบายในการตรวจสอบ โดยสามารถยื่นงบผ่าน E-filing และระบบสามารถประมวลอัตราส่วน ความผิดปกติ จะมีการให้คะแนน และจะเป็นรายงานมาว่ามีความเสี่ยงอะไร อย่างไรบ้าง สามารถถูกเรียกตรวจสอบภาษีย้อนหลังได้กี่ปี ? สำหรับผู้เสียภาษีเงินได้ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา ที่ได้มีการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีอย่างไม่ถูกต้องตามจริง ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ สรรพากรมีสิทธิประเมินและออกหมายเรียกภายใน 2 ปี นับจากวันที่มีการยื่นแบบแสดงรายการ… Continue reading โดนภาษีย้อนหลัง จะรับมือยังไง พร้อมเทคนิคในการลดความเสี่ยง