วางแผน ส่งต่อธุรกิจครอบครัว อย่างไร ไม่ให้ล้มเหลว

ความเสี่ยงของการ ส่งต่อธุรกิจครอบครัว

ชำแหละข้อดี Holding Company ทั้งด้านภาษีและการส่งต่อ

Holding Company คือ บริษัทที่มีการประกอบธุรกิจ โดยมีรายได้จากการถือหุ้นในบริษัทอื่นเป็นหลัก ไม่ได้มีธุรกิจเป็นของตนเอง อาจเป็นการลงทุนทั้งบริษัทในไทยและต่างประเทศก็ได้ และต้องถือหุ้นในบริษัทย่อยอย่างน้อย 1 บริษัท ซึ่งจะทำให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในบริษัทย่อยตามสัดส่วนการถือหุ้น โดยรายได้จะอยู่ในรูปแบบของเงินปันผล ซึ่งจะเป็นส่วนที่ได้รับการยกเว้นภาษีนิติบุคคล เนื่องจากเงินจำนวนนี้ได้มีการเสียภาษีมาแล้วในนามของบริษัทย่อย ถ้ามีการเก็บภาษีอีกรอบ จะเป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อน ด้วยคอนเซปต์ของบริษัทโฮลดิ้งและประโยชน์ทางด้านภาษี จึงทำให้เป็นโมเดลที่ได้รับความนิยมในกิจการที่เป็นธุรกิจครอบครัว ที่จะมีการตั้งบริษัทแม่มาถือหุ้นในบริษัทลูก ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดด้านภาษีแล้ว ยังง่ายต่อการส่งต่อธุรกิจครอบครัวอีกด้วย แต่จะง่ายและดีอย่างไรนั้น Idol Planner จะพามาชำแหละข้อดีของบริษัทโฮลดิ้งด้านภาษีและด้านการส่งต่อ ข้อดีด้านภาษีของบริษัทโฮลดิ้ง ในกรณีที่บริษัทโฮลดิ้งถือหุ้นในบริษัทย่อยตามเกณฑ์ที่สรรพากรกำหนดคือ ถ้ามีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดบริษัทโฮลดิ้ง ก็จะได้รับยกเว้นภาษี เช่น ข้อดีด้านการลงทุนของบริษัทโฮลดิ้ง บริษัทโฮลดิ้งจะได้รับเงินปันผลแบบเต็มจำนวน โดยเงินจำนวนนี้สามารถนำไปลงทุนในบริษัทอื่น ๆ ที่ต้องการขยายกิจการได้ ทั้งยังนำมาใช้จัดสรรเป็นสวัสดิการให้กับคนในครอบครัวได้อีกด้วย ในส่วนของการจัดสรรสวัสดิการนี้ ถ้ามีการวางแผนภาษีดี ก็จะสามารถได้รับยกเว้นภาษีหรือต้องเสียภาษีน้อยไปอีกขั้น ข้อดีด้านโครงสร้างบริษัทของบริษัทโฮลดิ้ง เมื่อธุรกิจครอบครัวมีกิจการหลาย ๆ บริษัทอยู่ในมือ ปัญหาที่มักเกิดขึ้นคือโครงสร้างที่ไม่ชัดเจน ถ้ามีการปรับโครงสร้างเข้าสู่บริษัทโฮลดิ้ง โครงสร้างภายในเครือก็จะมีความชัดเจนขึ้น ไม่กระจัดกระจาย สามารถตรวจสอบได้ง่ายและเป็นระบบ บริษัทแม่สามารถเห็นผลประกอบการทั้งหมดของบริษัทในเครือได้ชัดเจน ซึ่งจะง่ายต่อการจัดสรรเงินสวัสดิการและการนำไปลงทุนต่อยอดในกิจการต่าง ๆ  ข้อดีด้านการส่งต่อกิจการของบริษัทโฮลดิ้ง เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจครอบครัว สำหรับบริษัทโฮลดิ้งจึงมักจะมีการกำหนดเรื่องของการส่งต่อกิจการแบบรุ่นสู่รุ่น แบบที่ทายาทไม่สามารถยกมรดกให้กับคู่สมรสหรือให้ใครก็ได้ตามใจชอบ… Continue reading ชำแหละข้อดี Holding Company ทั้งด้านภาษีและการส่งต่อ

Exit Plan วางแผนธุรกิจตั้งแต่ต้นจนจบ พร้อมรับทุกความเสี่ยง

ทำไมธุรกิจต้องมี Exit Plan

สภาครอบครัว ตัวช่วยลดช่องว่างระหว่าง Generation

การทำธุรกิจว่าเป็นเรื่องยากแล้ว แต่ในกรณีที่ธุรกิจของคุณเป็น Family Business หรือธุรกิจแบบกงสี ย่อมมีความยากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะในการบริหารธุรกิจต้องบาลานซ์ความสัมพันธ์ที่เป็นรากฐานทั้ง 3 มิติให้ได้ ทั้งมิติของครอบครัว มิติของการบริหารธุรกิจ และมิติในฐานะเจ้าของธุรกิจ โดยเฉพาะมิติของครอบครัวที่มีความซับซ้อนและเปราะบาง เนื่องจากสมาชิกแต่ละคนมีพื้นฐานนิสัยใจคอ วิธีการเลี้ยงดูแตกต่างกัน จึงเป็นที่แน่นอนว่าการบริหารจัดการครอบครัวใหญ่ที่มีจำนวนสมาชิกมากก็จะยากมากขึ้นไปด้วย ไม่ใช่แค่ในด้านการบริหารจัดการ แต่สิ่งที่เป็นปัญหาหลักและมักเกิดขึ้นเป็นประจำในหลาย ๆ ครอบครัวคือเรื่องของ ‘การสื่อสาร’ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากประเด็นเล็ก ๆ จนบานปลายกลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต นอกจากการสื่อสารที่เป็นสิ่งที่น่ากังวลใจสำหรับครอบครัวแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่ไม่แพ้กัน นั่นก็คือ Age Gap ที่เกิดขึ้นระหว่างสมาชิกรุ่นต่าง ๆ หลังครอบครัวมีการขยายใหญ่ขึ้น สมาชิกส่วนใหญ่มักจะสนิทสนมกันเพียงในครอบครัวตัวเอง เช่น เด็กชายเอ สนิทกับพ่อ แม่และพี่สาว แต่ไม่สนิทกับ ลุง ป้า น้า อา ที่เป็นเครือญาติเดียวกัน ในกรณีที่ครอบครัวมีการจัดประชุมครอบครัว (Family Meeting) เป็นประจำ เด็กชายเอก็จะมีโอกาสสนิทกับญาติที่อยู่ใน Age Group หรือกลุ่มที่โตมาในวัยไล่ ๆ กัน สำหรับครอบครัวใหญ่ การที่เครือญาติไม่ได้สนิทกันไปทั้งหมดฟังดูแล้วอาจไม่ใช่ปัญหาที่ต้องกังวล… Continue reading สภาครอบครัว ตัวช่วยลดช่องว่างระหว่าง Generation

เริ่มต้นตอนนี้ก่อนสายเกินไป ประชุมครอบครัว สำคัญยังไงในแง่ธุรกิจ

ถ้าพูดถึงปัญหาใหญ่ ๆ ที่มักทำให้ธุรกิจครอบครัวเกิดความสั่นคลอน มูลเหตุหลักคงไม่พ้นความขัดแย้งกันระหว่างครอบครัว ที่มีพื้นฐานมาจากโครงสร้างความสัมพันธ์และการบริหารที่ไม่แข็งแรง โดยเฉพาะด้าน ‘ความสัมพันธ์’ ที่หลาย ๆ บ้านมักละเลยไป เมื่อครอบครัวเริ่มขยายใหญ่ขึ้น สมาชิกแต่ละสายก็เริ่มกระจัดกระจายอยู่ใครอยู่มัน ขาดการพบปะหรือประชุมครอบครัว เป็นเวลานาน จนทำให้ญาติพี่น้องขาดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน มีธุรกิจกงสีจำนวนมาก เลือกแก้ปัญหาผ่าน ‘ธรรมนูญครอบครัว’ เป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่ครอบคลุมทั้งในด้านนโยบาย สวัสดิการ การบริหารและวางรากฐานของครอบครัว โดยผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้ทางสมาชิกกำหนดวันรวมตัวเพื่อพูดคุยกันที่เรียกว่า ‘ประชุมครอบครัว’ นั่นเอง เพราะถ้าเจาะลึกไปถึงเหตุผลของความบาดหมาง จะพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากการรับรู้ข้อมูลไม่เท่ากัน ปิดบังข้องมูลกัน จนเกิดเป็นความเข้าใจผิดระหว่างญาติพี่น้อง อีกทั้งครอบครัวมีความเปราะบางมาก ส่วนใหญ่มักเกรงใจซึ่งกันและกัน ไม่ค่อยพูดหรือแสดงความเห็นตรง ๆ โดยสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น จะส่งผลให้เห็นชัดเจนถ้าสมาชิกแต่ละคนมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการครอบครัวในส่วนต่าง ๆ ทำให้บางคนไม่รู้ประสิทธิภาพการทำงานหรือความผิดพลาดของตัวเอง ซึ่งจะส่งผลเสียต่อธุรกิจโดยตรง ในธุรกิจกงสีที่มีความมั่นคงแล้ว มักจะมีการจัดประชุมครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยเป็นรายปี ไม่ใช่แค่การสรุป Performance หรือบทบาทของสมาชิกแต่ละคนเท่านั้น เพราะการประชุมครอบครัวยังมีประโยชน์อีกมากในแง่ความสัมพันธ์และในแง่ของธุรกิจ ในแง่ของธุรกิจการประชุมครอบครัวจะช่วยประเมินผลการทำงานทั้งในองค์รวมของกิจการและสมาชิกแต่ละคน อาจมีการรายงานสรุปผลประกอบการ แบ่งบทบาท หน้าที่ให้ชัดเจน เพราะในแต่ละครอบครัวมีทั้งคนที่มีส่วนร่วมในธุรกิจหรืออาจเป็นคนที่ไม่มีเลยก็ได้ โดยเฉพาะในสมาชิกอย่างหลัง เช่น เขย-สะใภ้ การได้มีส่วนร่วมในประชุมครอบครัวครั้งนี้ จะช่วยสร้างความรู้สึกเป็นปึกแผ่น ว่าพวกเขาก็เป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวเช่นกัน… Continue reading เริ่มต้นตอนนี้ก่อนสายเกินไป ประชุมครอบครัว สำคัญยังไงในแง่ธุรกิจ

กรณีศึกษามหากาพย์ธุรกิจหมื่นล้านผ่าน ธรรมนูญครอบครัว กฎเหล็กป้องกันกงสีแตก

กิจการกงสีฟังเหมือนจะดูดี ราบรื่น ไม่มีปัญหา เพราะบริหารกิจการกันเองภายในครอบครัว น่าจะพูดคุยกันง่าย เข้าอกเข้าใจกันดี แต่แท้จริงแล้วการทำธุรกิจกงสี ย่อมมีภัยซ่อนเร้นที่พร้อมปะทุขึ้นมาทุกวัน เพราะเป็นเรื่องที่ผูกปมกับผลประโยชน์และเม็ดเงินมหาศาลเข้าไว้ด้วยกัน ต่อให้เป็นพี่น้องท้องเดียวกัน หรือลูกกับพ่อ ก็ไม่พ้นความเสี่ยงจากเรื่องเหล่านี้ได้ โดยเฉพาะเมื่อมีคนนอกเข้ามาเอี่ยว ย่อมนำมาซึ่งความสั่นคลอนของธุรกิจและสายสัมพันธ์ของพี่น้องที่แตกหัก จนเกิดศึกสายเลือดเพื่อแย่งชิงสมบัติ นำหายนะมาสู่ชื่อเสียงและกิจการที่อาจย่อยยับตามกันไป เช่นเดียวกับกรณีของตระกูลธุรกิจหมื่นล้านที่เพิ่งเป็นข่าวดังเมื่อไม่นานมานี้ เมื่อบิดา ลูกชายคนโตและคนเล็กยื่นฟ้อง ลูกชายคนกลางพร้อมประกาศตัดออกจากตระกูลเมื่อหลายปีก่อน หลังจากลูกชายคนกลางได้ตัดสินใจซื้อหุ้นโดยการกู้เงินจากครอบครัว พร้อมการมีเอี่ยวของ “แม่ยาย” ในการซื้อหุ้น ที่ทำให้ประเด็นเรื่องผลประโยชน์เข้มข้นขึ้น และใช้เวลาพิสูจน์ความจริงกว่า 6 ปี คดีจึงเริ่มคลี่คลายลง พร้อมบทสรุปที่ศาลยกฟ้องความผิดของจำเลยทุกคดี เว้นแต่การให้อภัยจากครอบครัวที่ถูกตัดขาด กลายเป็นปมร้าวที่ไม่สามารถลบรอยบาดหมางได้ และศึกสายเลือดในธุรกิจกงสีของไทย ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงกรณีเดียวเท่านั้น หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินข่าวร้าวฉานของพี่น้องแห่งอาณาจักรอาหารกระป๋อง ที่แย่งชิงกรรมสิทธิ์ในธุรกิจโรงแรม ที่ดินในกรุงเทพและต่างจังหวัด รวมหุ้นอีก 19 บริษัท ที่กินเวลาการต่อสู้ในชั้นศาลยาวนานถึง 6 ปี หรือกรณีธุรกิจน้ำพริกเผา ที่แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งของแม่กับลูก ก็เป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อมีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเป็นกรณีปลอมแปลงเอกสารที่ดินเป็นของตัวเอง ซึ่งการฟ้องร้องดังกล่าวยังมีจำเลยเพิ่มอีกคน คือ ‘ลูกเขย’ นั่นเอง นี่จึงเป็นเหตุผลให้บางครอบครัวเลือกใช้กฎเกณฑ์ในการแยกธุรกิจและครอบครัวออกจากกันอย่างชัดเจน โดยไม่ให้เขย-สะใภ้… Continue reading กรณีศึกษามหากาพย์ธุรกิจหมื่นล้านผ่าน ธรรมนูญครอบครัว กฎเหล็กป้องกันกงสีแตก

เฮงหรือเจ๊ง? การ ตรวจสุขภาพธุรกิจ ที่หลาย ๆ  แบรนด์มองข้าม

ขายดีแต่ไม่มีกำไร ธุรกิจเติบโตขึ้นทุกปี แต่ไม่รู้ว่าเงินที่ได้รั่วไหลไปไหนหมด จนเกิดคำถามที่ว่าตกลงธุรกิจที่เราทำอยู่ เข้าข่ายเฮงหรือเจ๊งกันแน่? ปัญหาเหล่านี้สามารถหาคำตอบพร้อมแนวทางการแก้ไขได้ ด้วยการ ‘ตรวจสุขภาพธุรกิจ’ เพราะไม่ใช่เพียงแค่คนที่มีโอกาสป่วยหนัก ธุรกิจเองก็มีสุขภาพที่ต้องดูแลด้วยเช่นกัน ถ้าปล่อยให้ป่วยเรื้อรังก็มีโอกาสที่จะโคม่าจนสิ่งที่สร้างมาพังทลายได้ ตรวจสุขภาพธุรกิจ คืออะไร? คือการประเมินสุขภาพและความเสี่ยงของธุรกิจ ผ่านการตรวจสอบระบบภายในจากทีม Idol Planner ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็น ความชัดเจนในขั้นตอนการทำงาน อุดรูรั่วที่จะทำให้องค์กรได้รับความเสียหาย วิเคราะห์งบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี ทั้งในด้านความถูกต้อง ครบถ้วน นำสิทธิประโยชน์ของภาษีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ รวมถึงการอัปเดตและรีวิวกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เช่น PDPA กฎหมายแรงงาน ลิขสิทธิ์ และตรวจสอบว่าธุรกิจมีความเสี่ยงหรือละเลยในการปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ การเงินและกฎหมาย (Financial and Tax) ▶︎ งบการเงินมีความเสี่ยงหรือไม่?▶︎ วางแผนภาษีได้ครบถ้วนครอบคลุมหรือไม่?▶︎ อัตราส่วนทางการเงินเป็นอย่างไร? การควบคุมภายใน (Internal Audit) ▶︎ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับระบบควบคุมภายใน▶︎ ตรวจสอบการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระบบควบคุมภายใน▶︎ ป้องกันช่องทางการทุจริตและผลประโยชน์ทับซ้อน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (Compliance & Legal) ▶︎ Review &… Continue reading เฮงหรือเจ๊ง? การ ตรวจสุขภาพธุรกิจ ที่หลาย ๆ  แบรนด์มองข้าม

Family Office สำนักงานบริหารความมั่งคั่งธุรกิจครอบครัว

Family Office สำนักงานครอบครัว เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในเคล็ดลับการประสบความสำเร็จในการวางรากฐานธุรกิจครอบครัว จนไปถึงการรับช่วงต่อของทายาทรุ่นถัดไป การจัดตั้งสำนักงานครอบครัว จึงเปรียบเสมือนกุญแจสำคัญในการขจัดและป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในครอบครัวที่ประกอบธุรกิจกงสี อย่างที่เราเห็นได้ในซีรีส์ยอดฮิตหลาย ๆ เรื่อง ที่มีดำเนินท้องเรื่องด้วยปมของปัญหา เช่น ความขัดแย้งในการสืบทอดกิจการ การแบ่งมรดก แม้กระทั่งระบบสวัสดิการ ซึ่งล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจครอบครัวทั้งสิ้น ทำให้ธุรกิจจำนวนมากทั้งในไทย เอเชียและทั่วโลก เลือกใช้วิธีจัดตั้งสำนักงานครอบครัวเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เพราะการมีสำนักงานครอบครัว จะทำให้การบริหารจัดการทรัพย์สินเป็นไปอย่างราบรื่น เป็นระบบและมีความยุติธรรมมากขึ้น Family Office ต่างจาก Wealth Management อย่างไร? Wealth Management คือการบริหารจัดการความ ‘มั่งคั่ง’ ในด้านเฉพาะ ‘ทรัพย์สิน’ ด้วยการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ลงทุนในกองทุนรวม พันธบัตรรัฐบาล ทองคำ ซึ่งเป็นการลงทุนเพื่อต่อยอดเงิน กระจายความเสี่ยงและบริหารจัดการเงินให้เป็นระบบ Family Office คือบริการที่เป็นตัวกลางในการจัดการกิจธุระของครอบครัวในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรื่องทั่วไป การจัดการตามธรรมนูญครอบครัว การลงทุน หรือเรื่องอื่น ๆ ที่ทางครอบครัวกำหนดให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานครอบครัว เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและประสิทธิภาพสูงสุด… Continue reading Family Office สำนักงานบริหารความมั่งคั่งธุรกิจครอบครัว

สิ่งที่คนทำธุรกิจต้องรู้ วางแผนภาษี ควรเริ่มจากอะไร

สิ่งที่อยู่ควบคู่กับคนทำธุรกิจมาเนิ่นนานและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เรียกได้ว่าเป็นพันธะผูกพันด้านกฎหมาย สิ่งที่ว่านี้ก็คือ ‘ภาษี’ นั่นเอง ไม่ว่าธุรกิจเล็กหรือใหญ่ล้วนแต่ต้องเสียภาษีกันทั้งนั้น ที่สำคัญค่าใช้จ่ายในการเสียภาษี นับว่าเป็นรายจ่ายที่มีมูลค่าสูงลำดับแรก ๆ ของการทำธุรกิจ ซึ่งมีมูลค่ามากถึง 20% ของกำไรก่อนหักภาษี เรียกได้ว่าธุรกิจยิ่งมีขนาดใหญ่ เม็ดเงินที่ต้องเสียไปก็ยิ่งเยอะตาม จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมหลาย ๆ บริษัทถึงต้องมีการบริหารจัดการวางแผนภาษีขององค์กร เพราะการ ‘วางแผนภาษี’ จะช่วยรักษาผลประโยชน์ที่พึงมีตามกฎหมายของบริษัท ช่วยประหยัดรายจ่ายด้านภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมจำกัดความเสี่ยงในการถูกประเมินภาษีย้อนหลังได้อีกด้วย ทำไมถึงต้อง “วางแผนภาษี” เพื่อที่จะให้ธุรกิจเสียภาษีได้อย่างถูกต้อง ป้องกันโทษและความรับผิดชอบจากการเสียภาษีผิดพลาด หาแนวทางการประหยัดภาษีสูงสุด นอกจากนั้นยังช่วยลดความเสี่ยงจากการเข้าตรวจของสรรพากรอีกด้วย หลาย ๆ ธุรกิจมักใช้การจัดการงบการเงินเพียงแค่ทำการบันทึกเข้าระบบ โดยปราศจากการวางแผน ทำให้บางครั้งมักมองข้ามรายละเอียดบัญชีเล็ก  ๆ น้อย ๆ ไป ทำให้เมื่อสรุปออกมาแล้ว งบการเงินมีจุดที่ผิดปกติ ซึ่งจะกลายเป็นจุดเสี่ยงที่สรรพากรตรวจพบ ทำให้ธุรกิจของเราต้องเสียทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ทั้งยังต้องเสียเครดิต ชื่อเสียงบริษัทอีกด้วย รายละเอียดที่เรามักละเลยและสรรพากรมักตรวจพบ ➡︎ บันทึกรายได้ไม่ถูกต้อง➡︎ การสร้างค่าใช้จ่ายเท็จ➡︎ ขาดทุนสะสมเป็นเวลานาน➡︎ ค่าใช้จ่ายเพิ่มแต่รายได้ลดลง➡︎ ค่าใช้จ่ายสูงเมื่อเทียบกับรายได้➡︎ บันทึกรายการโดยใช้เงินสดเป็นหลัก➡︎ บันทึกรายได้ไม่ครบถ้วน ไม่สอดคล้อง➡︎ ทรัพย์สินน้อยหรือมากเกินไปไม่สอดคล้องกับรายได้… Continue reading สิ่งที่คนทำธุรกิจต้องรู้ วางแผนภาษี ควรเริ่มจากอะไร

กรณีศึกษา “แชโบล” นายทุนยักษ์ใหญ่ ผู้กุมบังเหียนเศรษฐกิจเกาหลีใต้

เมื่อกล่าวถึงธุรกิจกงสี หลายคนอาจเกิดข้อสงสัยว่าหน่วยธุรกิจขนาดไหนถึงจะนับว่าเป็นธุรกิจกงสีได้ แท้จริงแล้ว “ธุรกิจกงสี” หมายถึงกิจการที่ใช้ระบบสมาชิกในครอบครัวทำงานร่วมกัน เพราะฉะนั้นในรูปแบบธุรกิจเช่นนี้จึงมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ปะปนกันไป เช่น กิจการร้านขายส่งของที่บ้าน หรือธุรกิจห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่ที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ก็นับว่าเป็นธุรกิจกงสีได้เช่นกัน แต่ถ้าหากพูดถึงธุรกิจครอบครัวที่มีขนาดใหญ่ จนอาจเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในธุรกิจกงสีที่ใหญ่ที่สุดในโลก เชื่อว่าไม่มากก็น้อยหลายคนต้องเคยได้ยินคำว่า “แชโบล” มาบ้าง ไม่ว่าจะในซีรีส์เกาหลีหรือภายในข่าวเศรษฐกิจก็ตาม เพราะกลุ่ม “แชโบล” นี้ คือกลุ่มนายทุนยักษ์ใหญ่ที่ครอบครองสัดส่วน GDP ของประเทศเกาหลีใต้ไปเกือบ 90% และที่สำคัญคือในบรรดากลุ่มมหาเศรษฐี “แชโบล” พวกเขามีความเกี่ยวข้องทางสายเลือดในฐานะเป็นเครือญาติกันอีกด้วย ต้นกำเนิดของแชโบล หลังผ่านสงครามโลกครั้งที่1 สงครามโลกครั้งที่2 ก่อนจะเป็นการปิดฉากสงครามตัวแทนระหว่างเกาหลีเหนือ- เกาหลีใต้ รัฐบาลเกาหลีใต้ ณ ขณะนั้น โดยการนำของ Rhee Syng-man มุ่งเน้นไปที่การพัฒนากองทัพเป็นหลัก อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับกองทัพจึงเติบโต และจุดเริ่มต้นของแชโบลได้เกิดขึ้น ณ เวลานั้น จนกระทั่งเกาหลีใต้ถูกปกครองโดยรัฐบาลเผด็จการของ Park Chung-hee ได้ตั้งเป้าหมายขับเคลื่อนให้เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมหนัก นำไปสู่การร่วมมือของภาครัฐและเอกชน รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการหลายกลุ่ม มุ่งเน้นไปที่รถยนต์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แชโบลเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจหลักที่ถูกรัฐคัดสรร โดยตัวแปรสำคัญที่ทำให้กลุ่มนายทุนยักษ์ใหญ่ผงาดขึ้นได้จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากในขณะนั้น รัฐบาลได้ออกนโยบายกีดกันทางการค้าเพื่อหนุนธุรกิจของกลุ่มที่ช่วยเหลือรัฐบาล ในเวลาไม่นาน ด้วยแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจนี้ทำให้เศรษฐกิจของเกาหลีใต้เติบโตรวดเร็วจนก้าวขึ้นมาเป็น… Continue reading กรณีศึกษา “แชโบล” นายทุนยักษ์ใหญ่ ผู้กุมบังเหียนเศรษฐกิจเกาหลีใต้