วางแผน ส่งต่อธุรกิจครอบครัว อย่างไร ไม่ให้ล้มเหลว

ความเสี่ยงของการ ส่งต่อธุรกิจครอบครัว

ส่งต่อธุรกิจครอบครัว พร้อมกับการวางแผนและบริหารทรัพย์สิน เป็นหัวใจสำคัญของการส่งต่อธุรกิจครอบครัวจากรุ่นพ่อ-แม่สู่รุ่นลูก เพราะธุรกิจครอบครัวเป็นธุรกิจที่มีความอ่อนไหวในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว อีกทั้งเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างสดใหม่ หากเทียบกับธุรกิจครอบครัวจากประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก

เช่น ประเทศญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อเรื่องการทำกิจการครอบครัวและสืบทอดมายาวนานหลายร้อยปี แม้กระทั่งฝั่งยุโรปเองก็มีการสืบทอดธุรกิจครอบครัวมายาวนานตั้งแต่ 100 – 200 ปี ในขณะที่ประเทศไทยยังเป็นธุรกิจครอบครัวที่ก่อตั้งได้หลักสิบปี กล่าวคือ อำนาจการบริหารส่วนใหญ่ยังอยู่ในรุ่นที่ 1 หรือ 2 และเตรียมที่จะส่งต่อให้กับรุ่นถัดไป

โดยที่ธุรกิจครอบครัวจากต่างประเทศส่วนหนึ่งได้ผ่านความท้าทายในการสืบต่อความยั่งยืนมาอย่างโชกโชน จึงทำให้ธุรกิจเหล่านี้มีประสบการณ์ในการบริหารทรัพย์สิน จัดตั้งธรรมนูญครอบครัวและวางแผนการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น กลับกันกับธุรกิจครอบครัวในประเทศไทยที่ต้องยอมรับว่ามีกิจการจำนวนมากที่ยังไม่มีการวางแผนรับมือความเสี่ยงในเรื่องเหล่านี้

ความเสี่ยงของการส่งต่อธุรกิจครอบครัวเมื่อขาดการวางแผน

หลาย ๆ ธุรกิจมักจะให้ความสำคัญกับอนาคต เช่น การขยายกิจการ ช่องทางการเติบโตของกิจการ แต่หลงลืมรากฐานภายในครอบครัว โดยความล้มเหลวส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นจาก

  • ไม่มีการเตรียมตัวให้ทายาทรุ่นถัดไป พ่อ-แม่ อาจไม่เคยพูดคุยเกี่ยวกับธุรกิจ การรับช่วงต่อหรือการมอบหมายหน้าที่ให้กับลูก ทำให้ลูก ๆ มีความสับสนว่าในอนาคตต้องกลับมารับช่วงต่อกิจการที่บ้านหรือไม่? ส่งผลต่อการเลือกสายการเรียน เช่น บางคนเรียนหมอ รับราชการ เป็นทหาร และเติบโตในเส้นทางของตัวเอง เมื่อถึงวันหนึ่งพ่อแม่ต้องการให้ลูกเข้ามารับช่วงต่อ ก็อาจเกิดปัญหาการไม่อยากสานต่อธุรกิจ เสี่ยงต่อการเปลี่ยนผู้นำทางธุรกิจสู่มือคนนอกครอบครัว
  • การแบ่งบทบาทไม่ชัดเจน ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ตามมาจากปัญหาแรก เมื่อไม่มีการแบ่งบทบาทที่ชัดเจน จะมีการทับซ้อนกันในเรื่องของหน้าที่ เช่น ลูกคนที่หนึ่งศึกษาต่อโดยตรงในด้านที่เกี่ยวกับธุรกิจครอบครัว จึงมีวิสัยทัศน์ที่จะปรับเปลี่ยนกิจการให้เป็นอีกแบบหนึ่ง ในขณะที่ลูกคนที่สองไม่ได้ศึกษาต่อโดยตรง แต่มีโอกาสได้เรียนรู้จากพ่อแม่ จึงอยากจะยึดหลักการเดิมไว้ เมื่อบทบาทเหล่านี้มีความไม่ชัดเจน ก็จะลงเอยที่พี่น้องทะเลาะกัน และด้วยสายสัมพันธ์ของคนในครอบครัว เป็นเรื่องยากที่พ่อ-แม่จะหยุดการวิวาทของเหล่าทายาทได้
ครอบครัวไทยส่วนใหญ่ ยังไม่มีการ วางแผนภาษี
  • ภาษี  สองสิ่งที่มนุษย์หลีกเลี่ยงไม่ได้คือความตายและภาษี สำหรับธุรกิจครอบครัว ภาษีก็เปรียบเสมือนมัจจุราชที่เฝ้ารอวันมาเยี่ยมเยือนด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกับครอบครัวไทย ที่ส่วนใหญ่ยังไม่วางแผนด้านภาษี ไม่ใช่ธุรกิจขนาดเล็กที่บางบ้านยังไม่แม้แต่นำเข้าระบบภาษี แต่รวมถึงบางธุรกิจใหญ่ ๆ ที่ยังใช้ระบบสมาชิกคนเดียวดูแลเรื่องการเงินทั้งหมด โดยไม่ได้วางแผนไว้ว่า เมื่อวันหนึ่งสมาชิกคนนั้นไม่อยู่แล้ว ใครควรจะรับช่วงต่อ ทำให้ระบบการเงินรวมถึงภาษีติดขัด ยังไม่นับกฎหมายด้านภาษีต่าง ๆ ที่ต้องเจอในอนาคต เช่น ภาษีที่ดิน ที่หลังการแพร่ระบาดของ COVID 19 รัฐได้ช่วยออกกฎหมายในการลดหย่อนภาษีที่ดิน แต่ถ้าวันหนึ่งกฎหมายได้เปลี่ยนมาใช้แบบเดิมแทนการลดหย่อน เท่ากับว่าเราต้องเสียรายได้ให้กับภาษีเพิ่มขึ้น ยังไม่นับรวมภาษีมรดกในกรณีที่มีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท จะต้องเสียภาษี 5-10% ยิ่งมีมรดกมากก็ต้องเสียมาก ดังนั้นถ้าไม่มีการวางแผนดี ๆ รายได้ของกิจการจำนวนหนึ่งก็ต้องหมดไปกับการจ่ายภาษีหลายล้านบาท
ส่งต่อธุรกิจครอบครัว ต้องมีการวางแผนเตรียมรับมือจากการถูก Disrupt
  • Disruption เป็นสิ่งที่หลาย ๆ กิจการมองข้าม อย่างกรณีตัวอย่างที่เราเห็นได้ชัดเจนคือการถูก Disrupt จากโรคระบาด COVID 19 ที่ทำให้หลาย ๆ ธุรกิจต้องปิดกิจการลง และในแง่ของเทคโนโลยี อย่างเช่นมือถือปุ่มกดจากค่ายฝั่งสแกนดิเนเวียที่ครองตลาดทั่วโลกมาอย่างยาวนาน จะถูก Disrupt โดยเทคโนโลยีมือถือจอสัมผัสอย่างที่ไม่มีใครคาดการณ์ว่าเป็นไปได้ การวางแผนจะช่วยให้ธุรกิจมีแผนการสำรอง สำหรับรับมือเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
เริ่มต้นวางแผน ส่งต่อธุรกิจครอบครัว

เริ่มต้นวางแผน ส่งต่อธุรกิจครอบครัว ควรมีอะไรบ้าง?

  1. อัปเดตและรีวิวปัจจัยที่อาจกระทบกับทรัพย์สินของครอบครัวอนาคต เช่น ภาษีใหม่ ๆ  ภาวะเศรษฐกิจ เทรนด์การเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อเป็นองค์ความรู้เบื้องต้นให้กับธุรกิจครอบครัว
  2. วางแผนการจัดการทรัพย์สิน รวมถึงวางแผนด้านความเสี่ยง จะต้องมีการรวบรวมทรัพย์สินให้เป็นระบบ ทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ แบ่งทรัพย์สินออกเป็นเงินออม เงินปันผลและเงินลงทุน และวางแผนด้านอื่น ๆ ตามความต้องการเฉพาะของแต่ละครอบครัว
  3. วางกติกาของครอบครัวผ่านการจัดทำธรรมนูญครอบครัว เป็นการสร้างกฎเกณฑ์และข้อตกลงให้สมาชิกทุกคนปฏิบัติตาม เพื่อความเป็นแบบแผน ยุติธรรมและป้องกันปัญหาระหว่างพี่น้องที่อาจเกิดได้ในอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการวางแผนการส่งต่อธุรกิจครอบครัวให้กับรุ่นต่อไป
  4. จัดการโครงสร้างบริษัทให้เอื้อต่อการบริหารแบบธุรกิจครอบครัว อาจมีการรวมกิจการหลาย ๆ กิจการเข้ามาอยู่ในเครือ Holding Company เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบผลประกอบการ การออกปันผล การลงทุน เป็นประโยชน์ต่อการเสียภาษี ทั้งยังเป็นผลดีในด้านการส่งต่อธุรกิจครอบครัวให้ตกอยู่ในมือของลูกหลานในสายเลือด ไม่สามารถยกมรดกให้คู่สมรสหรือให้ใครก็ได้ตามใจชอบ

โดยขั้นตอนการวางแผนธุรกิจเหล่านี้รวมอยู่ในบริการของ Idol Planner ที่พร้อมสร้างแผนรองรับอย่างครอบคลุม ได้แก่

Holding Company

บริหารจัดการทรัพย์สินของธุรกิจครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ของกิจการครอบครัว

ธรรมนูญครอบครัว

         สร้างข้อตกลงและแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดความชัดเจนสำหรับสมาชิกในธุรกิจครอบครัว กำหนดนโยบาย สร้างระบบบริหารที่มีมาตรฐานและยุติธรรม

วางแผนระบบภาษี

         จัดการระบบภาษีสำหรับธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ พร้อมกับกลยุทธ์เพื่อให้ธุรกิจประหยัดภาษีสูงสุดโดยถูกต้องตามกฎหมาย

จัดการโครงสร้างธุรกิจ

         จัดการโครงสร้างธุรกิจให้เป็นระบบไม่ว่าจะเป็นการ จัดตั้งบริษัทโฮลดิ้ง ควบ-โอนกิจการ ปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น วิเคราะห์งบการเงิน

Exit Plan

         บริการวางแผนเพื่อเพิ่มมูลค่าธุรกิจและสร้างแผนเกษียณที่มั่นคงและมั่งคั่งให้แก่เจ้าของธุรกิจ รวมถึงแผนการรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

วางแผนสืบทอดธุรกิจ

         เตรียมความพร้อมส่งต่อธุรกิจไปยังรุ่นลูก-หลาน ครอบคลุมประเด็นสำคัญต่าง ๆ อาทิ ตำแหน่งผู้นำทางธุรกิจ กรรมสิทธิ์ ระบบการบริหาร

ติดต่อเราบริษัท Idol Planner Consulting ตอนนี้เลย

ผู้นำด้านการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัว

ธุรกิจครอบครัว-กงสี คืองานถนัดของเรา

บริษัท ไอดอลแพลนเนอร์ จำกัด พร้อมช่วยสร้างความชัดเจนและความเป็นมืออาชีพให้กับธุรกิจครอบครัว ด้วยโซลูชั่นที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจครอบครัวโดยเฉพาะ พันธกิจของเราคือการช่วยเหลือให้ธุรกิจของครอบครัวคุณเติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นปึกแผ่นให้กับครอบครัวของคุณ